รูปแบบการบริหาร 5 ร Model

รูปแบบการบริหารจัดการสร้างความเข้มแข็งให้แก่คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา (ก.ต.ป.น.) โดยใช้หลักการมีส่วนร่วม (Participation) โมเดล 5 ร

                  

 

ร่วมคิด (Thinking Participation) หมายถึง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมคิดวางแผน การติดตามการกำหนดตัวชี้วัด ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดพื้นที่การศึกษา เพื่อเตรียมการรับการนิเทศ ติดตามและประเมินผลจากหน่วยงานภายนอก

ร่วมปฏิบัติ (Implementing Participation) หมายถึง ให้ทุกภาคส่วนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย  ในการจัดการศึกษา มีส่วนร่วมในงานด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล  และด้านการบริหารงานทั่วไป ภายใต้ความร่วมมือของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา คณะกรรมการติดตามตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา และคณะอนุกรรมการติดตาม ตรวจสอบประเมินผลการจัดการศึกษา

ร่วมติดตาม นิเทศ (Supervision Participation) หมายถึง คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบประเมินผล และนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษามีส่วนร่วมในการกำกับ นิเทศ และติดตามความก้าวหน้า ตามแผนเป็นระยะ ๆ โดยสร้างเครือข่ายเป็นกลไกในการติดตามและนิเทศการศึกษา

ร่วมประเมินผล (Evaluation Participation) หมายถึง คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบประเมินผล และนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษามีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล ตามแผนปฏิบัติการที่กำหนดไว้

ร่วมปรับปรุงและพัฒนา (Improve and develop Participation) หมายถึง คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา ของเขตพื้นที่การศึกษามีส่วนร่วมในการสรุปผล และรายงานผลการดำเนินงานต่อต้นสังกัดในด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล  และด้านการบริหารงานทั่วไป และนำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนางานของเขตพื้นที่การศึกษา

กลไกการขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติ

  1. คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา (ก.ต.ป.น.) ร่วมกับคณะอนุกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา (อ.ก.ต.ป.น.) ทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดตามประเด็นในแผนการติดตามฯ โดยใช้เครื่องมือ
  2.  วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เก็บข้อมูลโดยตรงจากผู้ปฏิบัติ หรือผู้ให้ข้อมูลสำคัญ  (Key Informant) ในสถานศึกษา โดยใช้การสัมภาษณ์ การสอบถาม การสังเกต ประกอบข้อมูลเอกสาร  เท่าที่จำเป็น โดยไม่สร้างภาระขั้นตอนเกินความจำเป็นแก่การปฏิบัติหน้าที่ของสถานศึกษา
  3.  การวิเคราะห์ข้อมูล โดยวิธีผู้เชี่ยวชาญ เพราะข้อมูลที่ได้จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ  เป็นการกลั่นกรองมาจากการปฏิบัติงานโดยตรง ถือเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้ เมื่อนำมาจัดเรียบเรียง และวิเคราะห์แบบพรรณนาวิเคราะห์ (Content Analysis) โดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตอบโจทย์เชิงนโยบาย ทำให้ผลของ การวิเคราะห์ข้อมูล มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเพียงพอแก่การนำไปใช้อ้างอิงต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้
  4.  การจัดทำข้อเสนอแนะ ให้มีองค์ประกอบครบถ้วน เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ เพื่อมุ่งอธิบายสาระสำคัญและวิธีปฏิบัติให้เพียงพอแก่ความเข้าใจได้ โดยมีผลผูกพันต่อหน่วยงานตามนัยของข้อ 25-28  ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการตรวจราชการ การติดตาม ตรวจสอบ ประเมิน และนิเทศการศึกษา พ.ศ. 2560

เครื่องมือการขับเคลื่อน (ติดตาม ตรวจสอบ ประเมิน นิเทศการศึกษา)

แบบติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการบริหารงาน 4 ด้านของสถานศึกษา เป็นแบบเก็บข้อมูลการติดตามการบริหารงานของสถานศึกษาในสังกัดทุกโรงเรียน จำนวน ๑๗๒ โรงเรียนที่ได้ให้ข้อมูลได้ครบถ้วน

ปฏิทินการปฏิบัติงานติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา

ที่ กิจกรรม ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ
1 วางแผนการดำเนินงาน (Plan)

1.1 จัดทำโครงการการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการจัดการศึกษา

1.2 จัดทำแผนการนิเทศ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการจัดการศึกษา ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕

ต.ค. 2564 คณะศึกษานิเทศก์
2 ดำเนินการ (Do)

2.1 จัดประชุมคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา (ก.ต.ป.น.)ภาคเรียนละ 1 ครั้ง รวม 2 ครั้งต่อปี

2.2 แต่งตั้งและจัดประชุมคณะอนุกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา(อ.ก.ต.ป.น.)

2.3 นิเทศ ติดตามฯ เก็บข้อมูล การดำเนินงาน  การบริหารงานและการนำนโยบายสู่การปฏิบัติของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1

พ.ย.64 – ก.ย.65 คณะศึกษานิเทศก์และคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการจัดการศึกษา
3 ตรวจสอบ วิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงาน (Check)

3.1 จัดทำรายงานการประชุมคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา (ก.ต.ป.น.) ภาคเรียนละ 1 ครั้ง รวม ๒ ครั้งต่อปีเพื่อวิเคราะห์ ประเมินผล และวางแผนการดำเนินงานในแต่ละไตรมาส

3.2 ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา (ก.ต.ป.น.) และคณะอนุกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา (อ.ก.ต.ป.น.)

3.3 การศึกษา วิเคราะห์ วิจัยข้อมูล จากการบริหารงานและการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ

พ.ย.64 – ก.ย.65 คณะศึกษานิเทศก์และคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการจัดการศึกษา
4 สรุปผลการดำเนินงานและให้ข้อเสนอแนะใน  การพัฒนางาน พร้อมเผยแพร่ผลการปฏิบัติงาน ต่อผู้เกี่ยวข้อง  (Act)

 

ก.ย.65 คณะศึกษานิเทศก์และคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการจัดการศึกษา

ที่มา .. คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา (ก.ต.ป.น.) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี

Comments

No comments yet. Why don’t you start the discussion?

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *