การทำวิจัยในชั้นเรียน ไม่ยากอย่างที่คิด

มาถึงช่วงเวลานี้ทุกท่านคงตระหนักดีแล้วว่างานวิจัยในชั้นเรียนนั้นสำคัญอย่างไร แต่อยู่ที่ว่าครูมีความเข้าใจการวิจัยในชั้นเรียนเพียงใด ได้ทดลองลงมือทำบ้างแล้วหรือยัง ซึ่งมีหลายท่านเมื่อพูดถึงคำว่า “วิจัย” ภาพของเอกสารหรือตำราเล่มหนาๆ โตๆ และสถิติที่ยุ่งยากผุดขึ้นในใจ “มีประโยชน์มากมายแต่ทำได้ยากเหลือเกิน เปรียบเหมือนยาขมที่ครูจำเป็นต้องรับประทาน”

ดังนั้นบทความนี้จึงนำเสนอเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจว่าการวิจัยในชั้นเรียนนั้นไม่ยากย่างที่คิด

“ความแตกต่างของการวิจัยในชั้นเรียนกับการวิจัยทั่วไป”

การวิจัยเป็นวิธีการศึกษาหาความรู้ที่เป็นระบบโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งการวิจัยประเภทใดก็ตามจะมีขั้นตอนสำคัญๆ ไม่แตกต่างกันคือ

  • การกำหนดปัญหาการวิจัย
  • การแสวงหาสู่ทางแก้ปัญหา
  • การใช้วิธีการต่างๆ แก้ปัญหา
  • การบันทึกและการปฏิบัติการแก้ปัญหา
  • การสรุปและนำเสนอผลการแก้ปัญหา

แนวทางการลงโทษทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กรณีการกระทำความผิดเล็กน้อย

แนวทางการลงโทษทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กรณีการกระทำความผิดเล็กน้อย
หลักการ
การดำเนินการทางวินัยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การลงโทษข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นไปโดยถูกต้องเหมาะสมตามกระบวนการทางนิติธรรม โดยการดำเนินการทางวินัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และขั้นตอนการดำเนินงานปฏิบัติตามกฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา พ.ศ. 2550

การดำเนินการทางวินัย การลงโทษข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องเป็นไปโดยความถูกต้องเหมาะสมและเป็นธรรม  โดยคำสั่งลงโทษทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นคำสั่งทางปกครอง การดำเนินการทางวินัยรวมถึงขั้นตอนต่างๆในการดำเนินการการใช้ดุลยพินิจผู้บังคับบัญชาในการกำหนดโทษทางวินัยจะต้องเป็นไปตามระเบียบขั้นตอนของกฎหมาย และต้องมีการคำนึงถึงความชอบด้วยกฎหมาย

กรณีผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจลงโทษทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กระทำความผิดเล็กน้อย อันเป็นความผิดวินัยไม่ร้ายแรง ต้องพิจารณาตามกระบวนการขั้นตอน การใช้ดุลยพินิจ การปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ ตามระเบียบวิธีปฏิบัติที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการทางวินัยถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 จึงจัดทำเอกสารเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและเป็นประโยชน์กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการทางวินัย กรณีการกระทำความผิดเล็กน้อย รายละเอียดตามเอกสารนี้

การสร้างสื่อการเรียน


การสร้างสื่อการเรียนรู้
E-Book หมายถึง หนังสือ หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่ผู้อ่านสามารถอ่านผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพา เช่น PDA หรือ ผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ สําหรับหนังสือ หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์นี้ จะมีความหมายรวมถึงเนื้อหาที่ถูกดัดแปลง อยู่ในรูปแบบที่สามารถแสดงผลออกมาได้ โดยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์แต่ก็ให้มีลักษณะการนําเสนอที่สอดคล้องและคล้ายคลึงกับการอ่านหนังสือทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจําวัน แต่จะมีลักษณะพิเศษ นั่นคือ นอกจากข้อความ และรูปภาพที่นําเสนอได้เหมือนหนังสือปกติแล้ว ยังสามารถนําเสนอเป็นสื่อมัลติมีเดีย (ภาพเคลื่อนไหว และเสียงประกอบได้) อีกทั้งสะดวกและรวดเร็วในการค้นหา กรณีที่อ่านผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพา ก็สามารถอ่านหนังสือได้ตลอดเวลาที่ต้องการอ่าน

การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์


การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ หรือ Graphic Design คือ การออกแบบเพื่อการเผยแพร่ เป็นงานออกแบบที มุ่งชักชวนเรียกร้อง หรือเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ บริการ และความคิดต่างๆ ซึ งเป็นงานในลักษณะการพิมพ์ งานออกแบบบรรจุภัณฑ์ งานโฆษณา ภาพถ่ายภาพยนตร์ วีดิทัศน์ โทรทัศน์ นิทรรศการเป็นต้นการออกแบบสิ งพิมพ์ เป็นส่วนหนึงของการออกแบบสื่อสาร (Communication Design) สิ่งทีควรคํานึงถึงอย่างมาก คือ ผู้ออกแบบจะต้องมีทักษะเกี่ยวกับการทํางาน มีแนวคิดที่ก้าวหน้าทันสมัย ทั้งความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งเทคนิคต่าง ๆ

การปฏิบัติและการป้องกันการกระทำ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์


ในปัจจบันนี้ทุกท่านคงปฏิเสธไม่ได้ว่าตนเองไม่มีสวนเกี่ยวข้องใด ๆ กับคอมพิวเตอร์เลย จะด้วยทางตรง คือเป็นผู้ใช้คอมพิวเตอร์เอง หรือทางอ้อม คือเกี่ยวข้องกับผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ เช่น ต้องทํางานที่มีกระบวนการบางอย่างที่ต้องมีคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งแต่เดิมการกระทำความผิดต่าง ๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จะไม่มีกฎหมายที่เฉพาะมารองรับ จึงใช้ได้แค่กฎหมายอาญาที่มีความใกล้เคียงในแต่ละกรณีไป ทําให้การเอาผิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อาจยังไม่สามารถทําได้อย่างชดเจนนัก แต่ในปัจจุบันประเทศไทยได้มี “พระราชบญัติ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550” มีสามารถใช้เอาผิดกับผู้ที่กระทําความผิดทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น และเมื่อมีการกระทําความผิดก็จะไม่สามารถอ้างได้ว่าไม่ทราบว่ามีกฎหมายนั้น ๆ กำหนดอยู่เพราะกฎหมายถือวาเป็นสิ่งที่ประชาชนทกคนในประเทศต้องปฏิบัติตาม แนะนำแนวทางหรือวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ทักษะครูในศควรรษที่ 21

ทักษะครูในศตวรรษที่ 21

การจะพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพหรือมีทักษะทั้งหลายที่กล่าวมาข้างต้น ครู คือผู้ที่สำคัญยิ่งที่จะช่วยสนับสนุน ส่งเสริม อำนวยความสะดวก คอยชี้แนะแนวทาง คอยเป็นที่ปรึกษา ผลักดันและออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพจนกระทั่งสามารถแสดงศักยภาพต่าง ๆ ออกมาได้อย่างครบถ้วน และครูผู้สอนที่ดีต้องมีลักษณะและมีสมรรถนะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสามารถนำความรู้ ทักษะ และเจตคติของตนเองมาพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ มีทักษะ และมีเจตคติที่ดี ที่พร้อมจะออกไปประกอบอาชีพและใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ในที่สุด