ใส่ใจแยกขยะในยุค Covid-19 ให้ถูกวิธี ดีต่อโลก ดีต่อเรา

รู้จักของประเภทถังขยะกัน! 
1. ถังขยะสำหรับขยะอินทรีย์ ขยะเปียก (สีเขียว)

ขยะอินทรีย์ คือ ขยะที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว เช่น เศษอาหาร เปลือกผลไม้  เศษผัก เนื้อสัตว์ เศษใบไม้แห้ง

ประโยชน์จากการแยกขยะ : นำไปทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ใส่ต้นไม้ แปลงผักสวนครัวได้

2. ถังขยะสำหรับขยะทั่วไป (สีน้ำเงิน)

เป็นขยะที่มักจะย่อยสลายไม่ได้ หรือย่อยสลายยากแต่ไม่เป็นพิษและไม่คุ้มค่าต่อ    การรีไซเคิล จำเป็นต้องหาวิธีกำจัดอย่างถูกวิธี เช่น ซองขนม กล่องโฟม ถุงพลาสติก  ภาชนะปนเปื้อนอาหาร กระดาษชานอ้อย

ประโยชน์จากการแยกขยะ : นำผ่านเทคโนโลยีการผลิตเพื่อนำกลับมาใช้เป็นวัสดุใหม่

3.ถังขยะสำหรับขยะรีไซเคิล (สีเหลือง)

ขยะรีไซเคิลก็คือขยะที่เราทิ้งไปแล้วสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำอีกครั้งได้ ไม่ใช่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เช่น ขวดพลาสติก, ถุงพลาสติก, ขวดแก้ว, กระป๋อง, กล่องกระดาษ, กระดาษ

ประโยชน์จากการแยกขยะ: ผลิตขาเทียม ผลิตหลังคารีไซเคิล ผลิตหลอดไฟ                ผลิตจีวรพระสงฆ์

  1. ถังขยะสำหรับขยะอันตราย (สีแดง)ขยะอันตราย คือ ขยะที่มีสารปนเปื้อนวัตถุอันตรายชนิดต่างๆ เช่น สารพิษ วัตถุติดเชื้อได้ วัตถุกัดกร่อน เช่น ถ่านไฟฉาย, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, ยาหมดอายุ, วัตถุไวไฟ, กระป๋องสเปรย์

ประโยชน์จากการแยกขยะแยกขยะเพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีตาม เพื่อไม่ไห้รั่วซึมลงแหล่งน้ำ หรือชั้นผิวดิน

Infographic (อินโฟกราฟิกส์ )

Infographic (อินโฟกราฟิกส์ )

Infographic (อินโฟกราฟิกส์ )

https://drive.google.com/file/d/1rrwWEn3C3ZuVnv0pO6peMPSdZIiZXOjq/view?usp=sharing

Infographic (อินโฟกราฟิกส์) คืออะไร? มีหลักการออกแบบอย่างไร?

เวลาเราเห็นการอธิบายข้อมูลต่างๆ โดยใช้ภาพมาประกอบให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยเฉพาะตามโซเชียลมีเดีย สิ่งเหล่านั้นเรียกว่า Infographic (อินโฟกราฟิกส์) เนื่องจากพฤติกรรมการเข้าถึงข้อมูลของคนยุคปัจจุบันมีความรวดเร็วมากขึ้น ข้อมูลหลายอย่างแม้มีประโยชน์แต่ถ้าต้องใช้เวลาในการอ่านหรือศึกษาก็อาจจะไม่มีคนสนใจ Infographic จึงช่วยมาแก้ปัญหาตรงนี้นั่นเอง

Infographic คืออะไร?

Infographic (อินโฟกราฟิกส์) คือ การเล่าเรื่องหรืออธิบายข้อมูลต่างๆ โดยใช้ ‘ภาพ’ ในการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของกราฟ แผนภูมิ แผนผัง สัญลักษณ์ โดยข้อมูลจะถูกย่อยให้เข้าใจได้ง่าย ทั้งยังมีการออกแบบสี รูปแบบ ลูกเล่น ให้สวยงาม ดึงดูดผู้อ่านได้ด้วย โดยอาจจะมาในรูปแบบคลิปวิดีโอที่มีภาพเคลื่อนไหวและเสียงด้วยก็ได้

การวัดและประเมินผล

การวัดผลและประเมินผล เป็นกระบวนการซึ่งประกอบด้วยกระบวนการย่อย ได้แก่ การวัดผล (measurement) และการประเมินผล (assessment) ทั้งการวัดผลและประเมินผลมีความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกันอย่างแยกไม่ออก ในทางการศึกษาจึงมักใช้คำว่า “การวัดประเมินผล” ในการออกแบบ  การเรียนการสอนซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุผลการเรียนรู้นั้น การวัดประเมินผลในที่นี้จึง หมายถึงการวัดประเมินผลการเรียนรู้ (assessment of learning) ซึ่งเป็นกระบวนการรวบรวมหลักฐาน ข้อมูลเชิงประจักษ์ต่าง ๆ เมื่อสิ้นสุดกระบวนการเรียนรู้เพื่อตัดสินคุณค่าในการบรรลุวัตถุประสงค์หรือ ผลลัพธ์การเรียนรู้ เป็นการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งแสดงถึงมาตรฐานทางวิชาการในเชิงสมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ สารสนเทศดังกล่าวนำไปใช้ในการกำหนดระดับคะแนนให้ ผู้เรียนรวมทั้งใช้ในการปรับปรุงหลักสูตรและการเรียนการสอน (ราชบัณฑิตยสถาน, 2555, หน้า 37)

                จุดมุ่งหมายของการวัดประเมินผลการเรียนรู้ 

การวัดประเมินผลการเรียนรู้มีจุดมุ่งหมายดังนี้

1) เพื่อนำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงการเรียนรู้ของผู้เรียน

2) ทำให้ทราบจุดอ่อนจุดแข็งของผู้เรียนเป็นรายบุคคล และสามารถนำสารสนเทศไปใช้ วางแผนแก้ไขปัญหาผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้อย่างเหมาะสม

3) ประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมและวิธีการเรียนการสอนที่ผู้สอนใช้ในการเรียนการสอน

4) ประเมินและปรับปรุงประสิทธิภาพของหลักสูตร

5) ประเมินและปรับปรุงประสิทธิภาพการสอนของผู้สอน

6) สื่อสารให้ผู้ปกครอง ชุมชน สังคมทราบผลการเรียนรู้ของผู้เรียน