การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended leaning)
ความหมาย
สมาคมสโลน (Allen and Seaman 2005) ให้คำจำกัดความของการเรียนแบบผสมผสานว่า
การเรียนแบบผสมผสาน คือ การเรียนที่ผสมการเรียนออนไลน์และการเรียนในชั้นเรียน โดยที่เนื้อหาส่วนใหญ่ส่งผ่านระบบออนไลน์ ใช้การอภิปรายออนไลน์และมีการพบปะกันในชั้นเรียนบ้าง และมีส่วนที่น่าสนใจว่าการอภิปรายออนไลน์ถือเป็นการส่งผ่านเนื้อหาออนไลน์ เช่นกัน สำหรับการเรียนในรูปอื่น ๆ อย่างเช่น การเรียนแบบปกติจะไม่มีการส่งผ่านเนื้อหาออนไลน์ การเรียนแบบใช้เว็บช่วยสอนจะมีการส่งผ่านเนื้อหาออนไลน์ร้อยละ 1 – 29 และการเรียนออนไลน์มีการส่งผ่านเนื้อหาร้อยละ 80 – 100
Charles R. Graham ( Graham , 2012 ) มหาวิทยาลัย Brigham Young University ประเทศสหรัฐอเมริกาให้ความหมายว่า เป็นระบบการเรียนการสอนที่ผสมผสานระหว่างการเรียนแบบเผชิญหน้ากับการสอนผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
Michael B. Horn and Heather Staker ( Horn and Staker , 2011 ) แห่ง Innosight Institute ได้นิยามเกี่ยวกับการเรียนแบบผสมผสานของผู้เรียนในระดับ K-12 หมายถึง การเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับมวลประสบการณ์ทางการเรียนรู้อย่างเป็นอิสระผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยนักเรียนสามารถควบคุมตัวแปรทางการเรียนรู้ด้วยตนเองทั้งในด้านเวลา สถานที่ แนวทางการเรียนรู้และอัตราการเรียนรู้ของตนเอง
Radames Bernath ( Bernath , 2012 ) สรุปว่า การเรียนแบบผสมผสานหรือ Blended Learning หมายถึง โปรแกรมทางการเรียนรู้ที่ใช้วิธีการผสมผสานระหว่างการเรียนรู้จากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-learning กับการสอนในชั้นเรียน
เว็บวิกิพีเดีย (Wikipedia 2007) ให้ความหมายของการเรียนแบบผสมผสานว่า เป็นการรวม การเรียนรู้หลายรูปแบบ การเรียนแบบผสมผสานจะสมบูรณ์ได้ด้วยการใช้การผสมผสานระหว่างทรัพยากร การเรียนรู้ที่เป็นสื่อเสมือนจริง และทรัพยากรทางกายภาพ เช่น การรวมเอาสื่อที่ต้องใช้เทคโนโลยีกับการเรียนในห้องเรียนเข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
การวัดประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผล เป็นกระบวนการซึ่งประกอบด้วยกระบวนการย่อย ได้แก่ การวัดผล (measurement) และการประเมินผล (assessment) ทั้งการวัดผลและประเมินผลมีความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกันอย่างแยกไม่ออก ในทางการศึกษาจึงมักใช้คำว่า “การวัดประเมินผล” ในการออกแบบ การเรียนการสอนซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุผลการเรียนรู้นั้น การวัดประเมินผลในที่นี้จึง หมายถึงการวัดประเมินผลการเรียนรู้ (assessment of learning) ซึ่งเป็นกระบวนการรวบรวมหลักฐาน ข้อมูลเชิงประจักษ์ต่าง ๆ เมื่อสิ้นสุดกระบวนการเรียนรู้เพื่อตัดสินคุณค่าในการบรรลุวัตถุประสงค์หรือ ผลลัพธ์การเรียนรู้ เป็นการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งแสดงถึงมาตรฐานทางวิชาการในเชิงสมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ สารสนเทศดังกล่าวนำไปใช้ในการกำหนดระดับคะแนนให้ ผู้เรียนรวมทั้งใช้ในการปรับปรุงหลักสูตรและการเรียนการสอน (ราชบัณฑิตยสถาน, 2555, หน้า 37)
เรียนรู้กระบวนการวิจัย
กระบวนการวิจัย หมายถึง กระบวนการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบในการ แสวงหาความรู้ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อความรู้หรือข้อค้นพบใหม่ที่เชื่อถือได้ตามเป้าหมายที่ก าหนด โดยอาศัยพื้นฐานกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้นตอน คือ
1) การตั้งปัญหา
2) การ ตั้งสมมติฐาน
3) การเก็บรวบรวมข้อมูล
4) การวิเคราะห์ข้อมูล และ
5) การสรุปผลการวิจัย เนื่องจากขั้นตอนของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นั้นมีการพิสูจน์ทดสอบ ผลที่ได้จึงมีความ น่าเชื่อถือ
แบบคัดกรองบุคคลที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษา
การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยหรือใช้วิจัยเป็นฐาน
การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยหรือใช้วิจัยเป็นฐาน
กัลยา แตงขำ
ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ
สพป.ราชบุรี เขต 1
การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยหรือใช้วิจัยเป็นฐานการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยหรือใช้วิจัยเป็นฐาน มีนักวิชาการให้ความหมายดังนี้
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2547) ให้ความหมายของการสอนแบบเน้นการวิจัย (Research-Base Teaching) คือ การสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถตั้งคำถาม วิเคราะห์ปัญหา รู้วิธีการที่จะได้มาซึ่งคำตอบ และคำตอบที่ได้มาตั้งเป็นประเด็นปัญญาเพื่อหาคำตอบใหม่ โดยนำเอาเนื้อหาจากการวิจัย หรือกระบวนการวิจัยมาเป็นสื่อการสอน
ทิศนา แขมมณี (2547 : 4) ได้กล่าวถึงความหมายไว้ว่า การเรียนการสอนที่มีการวิจัยเป็นฐาน คือการจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในการหาความรู้ใหม่หรือคำตอบที่เชื่อถือได้ โดยอาศัยกระบวนการสืบสอบในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษาวิจัยในการดำเนินการสืบค้น พิสูจน์ ทดสอบ เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล
อำรุง จันทวานิช (2548 : 5) ได้ให้ความหมายของการเรียนการสอนที่มีการวิจัยเป็นฐาน ว่าเป็นวิธีการที่ผู้สอนประยุกต์ใช้การวิจัยเป็น ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด การเรียนรู้ของผู้เรียนจะเกิดจากการปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอน มีการกำหนดปัญหา วิเคราะห์ปัญหา วางแผนจัดทำเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปการเรียนรู้ที่ได้จากการวิจัย
อาชัญญา รัตนอุบล (2547 : 61) ได้ให้ความหมายไว้ว่าการเรียนการสอนที่มีการวิจัยเป็นฐาน คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ ในเรื่องที่ตนสนใจหรือต้องการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายใต้ขอบเขตเนื้อหาที่เรียน โดยมุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกการคิดและการจัดการหาเหตุผลในการตอบปัญหาตามโจทย์ที่ผู้เรียนได้ตั้งไว้ โดยผสมผสานองค์ความรู้แบบสหวิทยาการและศึกษาจากสถานการณ์จริง