การวัดและประเมินผล

การวัดผลและประเมินผล เป็นกระบวนการซึ่งประกอบด้วยกระบวนการย่อย ได้แก่ การวัดผล (measurement) และการประเมินผล (assessment) ทั้งการวัดผลและประเมินผลมีความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกันอย่างแยกไม่ออก ในทางการศึกษาจึงมักใช้คำว่า “การวัดประเมินผล” ในการออกแบบ  การเรียนการสอนซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุผลการเรียนรู้นั้น การวัดประเมินผลในที่นี้จึง หมายถึงการวัดประเมินผลการเรียนรู้ (assessment of learning) ซึ่งเป็นกระบวนการรวบรวมหลักฐาน ข้อมูลเชิงประจักษ์ต่าง ๆ เมื่อสิ้นสุดกระบวนการเรียนรู้เพื่อตัดสินคุณค่าในการบรรลุวัตถุประสงค์หรือ ผลลัพธ์การเรียนรู้ เป็นการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งแสดงถึงมาตรฐานทางวิชาการในเชิงสมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ สารสนเทศดังกล่าวนำไปใช้ในการกำหนดระดับคะแนนให้ ผู้เรียนรวมทั้งใช้ในการปรับปรุงหลักสูตรและการเรียนการสอน (ราชบัณฑิตยสถาน, 2555, หน้า 37)

                จุดมุ่งหมายของการวัดประเมินผลการเรียนรู้ 

การวัดประเมินผลการเรียนรู้มีจุดมุ่งหมายดังนี้

1) เพื่อนำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงการเรียนรู้ของผู้เรียน

2) ทำให้ทราบจุดอ่อนจุดแข็งของผู้เรียนเป็นรายบุคคล และสามารถนำสารสนเทศไปใช้ วางแผนแก้ไขปัญหาผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้อย่างเหมาะสม

3) ประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมและวิธีการเรียนการสอนที่ผู้สอนใช้ในการเรียนการสอน

4) ประเมินและปรับปรุงประสิทธิภาพของหลักสูตร

5) ประเมินและปรับปรุงประสิทธิภาพการสอนของผู้สอน

6) สื่อสารให้ผู้ปกครอง ชุมชน สังคมทราบผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

ความรู้เกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา

ปัจจุบัน งานในด้านการศึกษาได้เจริญก้าวหน้าไปมาก มีการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ ประการ  เช่นการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร ความรู้ในสาขาวิชาการต่าง ๆ เพิ่มขึ้น แนวความคิดและแนวการเรียนการสอนใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น  ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงจุดมุ่งหมายของการศึกษา แต่ยังพบว่า ผู้บริหาร ครู  และผู้เกี่ยวข้องบางคน   ยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลง ปัญหาดังกล่าวข้างต้นสามารถจะแก้ไขได้โดยอาศัยผู้นิเทศ หรือศึกษานิเทศก์ ซึ่งมีหน้าที่นิเทศการศึกษาให้ครูมีความเจริญงอกงามทางวิชาการ สามารถพึ่งตนเองได้ และนำความรู้เหล่านี้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอนตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้  ดังนั้นเรื่องการนิเทศการศึกษาจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ศึกษานิเทศก์ควรจะได้ศึกษาและทำความเข้าใจในหลักการ กระบวนการ  และวิธีการของการนิเทศการศึกษาเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไปเพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่องของการนิเทศการศึกษาดีขึ้นจึงขอนำเอาความรู้เบื้องต้นของการนิเทศการศึกษามากล่าวถึงในรายละเอียดดังต่อไปนี้

แนวทางการเขียนรายงานการทำโครงงานโดยใช้กระบวนการสืบเสาะของเด็กปฐมวัย

 ชื่อโครงงาน …………………………………………………………………………………… 

ผู้จัดทำโครงงาน นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่………………. โรงเรียน………………………สพป…………………………..

ครูที่ปรึกษา ………………………………………………………………………………………………………………………..

ระยะเวลาในการจัดทำ ………………………………………………………………………………………………………………………..

ที่มาของโครงงาน

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

สรุปคำถามที่เด็กๆ สงสัยอยากรู้เกี่ยวกับเรื่อง……………………………………….นี้ ได้แก่

1. …………………………………………………………………. 3. ………………………………………………………………….

2. …………………………………………………………………. 4. ………………………………………………………………….

 

(ได้ที่มาของคาถามจากเหตุการณ์ สิ่งต่างๆ รอบตัว หรือจากการจัดกิจกรรมในหน่วยปกติในห้องเรียน ฯลฯ

ที่จะนามาจัดทำครงงานที่ ซึ่งจะมีหลายคำถามที่เด็กอยากรู้ แล้วเลือกคำถามที่ดี เพื่อให้เด็กหาคาตอบด้วยตนเอง โดยใช้กระบวนการสืบเสาะ)