มาตรฐานการตรวจสอบภายใน และจริยธรรมการปฏิบัติงาน

มาตรฐานการตรวจสอบภายใน และจริยธรรมการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในของส่วนราชการ

ข้อปฏิบัติที่สำคัญ ในการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่

            ส่วนที่ 1 มาตรฐานด้านคุณสมบัติ

เป็นมาตรฐานที่กล่าวถึงลักษณะของหน่วยงาน และบุคลากรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบภายใน ดังนี้

(1) กำหนดวัตถุประสงค์ อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ มีการกำหนดกรอบความประพฤติเกี่ยวกับความเที่ยงธรรม และข้อจำกัดของความเป็นอิสระไว้ใน กฎบัตรการตรวจสอบภายใน โดยแนวทางการประกันคุณภาพงานตรวจสอบภายในภาครัฐ พ.ศ. 2555 กำหนดเกณฑ์การพิจารณาในการประเมิน ไว้ดังนี้

1) หน่วยตรวจสอบภายในจัดทำกฎบัตรโดยให้สอดคล้องกับคำนิยามของตรวจสอบภายในที่กำหนดไว้ในระเบียบ มีองค์ประกอบครบถ้วน ประกอบด้วย

1.1 วัตถุประสงค์

1.2 สายการบังคับบัญชา

1.3 อำนาจหน้าที่

1.4 ความรับผิดชอบ

1.5 คำนิยามของการตรวจสอบภายใน

2) ได้รับความเห็นชอบโดยหัวหน้าส่วนราชการ

3) มีการทบทวนกฎบัตรการตรวจสอบภายในและนำเสนอหัวหน้าส่วนราชการทุกปี

4) มีการเผยแพร่กฎบัตรการตรวจสอบภายในให้ทราบทั่วกันในส่วนราชการ

5) มีการกำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล บุคลากร และทรัพย์สินต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

6) ลักษณะงานให้ความเชื่อมั่นและงานการให้คำปรึกษา

(2) ผู้ตรวจสอบภายในต้องมีความเป็นอิสระ และความเที่ยงธรรม ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และมีจริยธรรม ตามกรอบความประพฤติฯ ที่กำหนด

1) ความเป็นอิสระ การปฏิบัติงานตรวจสอบภายในควรมีความเป็นอิสระ คือ การ

เป็นอิสระจากเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคต่อความสามารถในการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน เพื่อให้การ

ตรวจสอบภายในบรรลุผลโดยปราศจากอคติ  โดยแนวทางการประกันคุณภาพงานตรวจสอบภายใน

ภาครัฐ พ.ศ. 2555 กำหนดเกณฑ์การพิจารณาในการประเมิน ไว้ดังนี้

1.1 มีการจัดทำแผนการตรวจสอบตามความเสี่ยง

1.2 อนุมัติแผนการตรวจสอบโดยหัวหน้าส่วนราชการ

1.3 เสนอรายงานผลการปฏิบัติงานตรงต่อหัวหน้าส่วนราชการ

1.4 มีโครงสร้างที่เป็นอิสระปรากฏอยู่ในกฎระทรวงแบ่งส่วนราชการ

1.5 ได้รับมอบหมายเฉพาะงานตามหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายใน

1.6 หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในต้องขึ้นตรงต่อหัวหน้าส่วนราชการ

1.7 ไม่ถูกจำกัดสิทธิในการเข้าถึงตามหน้าที่ความรับผิดชอบ

 

2) ความเที่ยงธรรม ผู้ตรวจสอบภายในต้องเป็นผู้ที่มีความเที่ยงธรรม ซื่อสัตย์สุจริต

มีทัศนคติที่ ไม่ลำเอียง หรือมีอคติไปทางหนึ่งทางใด มีจริยธรรม โดยแนวทางการประกันคุณภาพงานตรวจสอบภายในภาครัฐ พ.ศ. 2555 กำหนดเกณฑ์การพิจารณาในการประเมินไว้ดังนี้

2.1 มีการกำหนดกรอบความประพฤติเกี่ยวกับความเที่ยงธรรมและข้อจำกัดของ

ความเป็นอิสระ หรือความเที่ยงธรรม/ มาตรฐานจริยธรรม/ คุณธรรมของหน่วยงานตรวจสอบภายใน

เสนอให้หัวหน้าส่วนราชการให้ความเห็นชอบ

2.2 บุคลากรของหน่วยงานตรวจสอบภายในทราบและถือปฏิบัติตามกรอบฯ ที่กำหนด

2.3 มีการเผยแพร่กรอบความประพฤติเกี่ยวกับความเที่ยงธรรมและข้อจำกัดของ

ความเป็นอิสระหรือ ความเที่ยงธรรม / มาตรฐานจริยธรรม/ คุณธรรมของหน่วยงานตรวจสอบภายในให้ทราบทั่วกันในส่วนราชการ

(3) ผู้ตรวจสอบภายในควรเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ทักษะ และปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเชี่ยวชาญ ระมัดระวัง รอบคอบเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ

1) ความเชี่ยวชาญ ผู้ตรวจสอบภายในต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถอื่น ๆ

ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ และต้องสะสมความรู้ ทักษะและความสามารถอื่น ๆ  โดยแนวทางการประกันคุณภาพงานตรวจสอบภายในภาครัฐ พ.ศ. 2555 กำหนดเกณฑ์การพิจารณาในการประเมิน ไว้ดังนี้

– บุคลากรในหน่วยงานตรวจสอบร้อยละ 50 ขึ้นไป (รวมหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบ

ภายใน) ต้องมีประสบการณ์ด้านการตรวจสอบฯ มากกว่าหรือเท่ากับ 3 ปี

– บุคลากรในหน่วยงานตรวจสอบภายในที่ได้รับวุฒิบัตรด้านการตรวจสอบภายใน

หรือวุฒิบัตรที่กรมบัญชีกลางให้การยอมรับมีจำนวนมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 35

2) ความระมัดระวังรอบคอบ ผู้ตรวจสอบภายในต้องมีความระมัดระวังรอบคอบและ

มีทักษะอย่างเหมาะสมในอันที่จะทำให้ผลการปฏิบัติงานเป็นที่ยอมรับ และน่าเชื่อถือ การปฏิบัติงานตามขั้นตอนต่าง ๆ และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้รับการตรวจได้มีโอกาสชี้แจง และให้ความเห็นเพิ่มเติม โดยแนวทางการประกันคุณภาพงานตรวจสอบภายในภาครัฐ พ.ศ. 2555 กำหนดเกณฑ์การพิจารณาในการประเมิน ไว้ดังนี้

  1. การปฏิบัติงานตรวจสอบมีการบันทึกการปฏิบัติงานตรวจสอบในกระดาษทำการที่เป็น

ลายลักษณ์อักษรครอบคลุมทุกกระบวนการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย

1.1 การสอบทานระบบการควบคุมภายใน

1.2 การประเมินความเสี่ยงเพื่อวางแผนการตรวจสอบ

1.3 การวางแผนการตรวจสอบ

1.4 การวางแผนการปฏิบัติงานตรวจสอบ

1.5 การตรวจสอบภาคสนาม

1.6 การสรุปข้อตรวจพบ

  1. มีการกำกับดูแล และสอบทานการปฏิบัติงานที่สำคัญ โดยหัวหน้าหน่วยงาน

ตรวจสอบภายใน  ผู้ที่ได้รับมอบหมายที่มีความรู้และประสบการณ์ที่เหมาะสม

  1. มีการยืนยันถึงความถูกต้อง เหมาะสมของเรื่องที่ตรวจพบและข้อคิดเห็นหรือ

ข้อเสนอแนะกับหน่วยรับตรวจ

  1. ไม่มีข้อทักท้วงจากหน่วยรับตรวจต่อรายงานผลการตรวจสอบหรือมีข้อทักท้วงจาก

หน่วยรับตรวจต่อรายงานผลการตรวจสอบแต่สามารถแก้ข้อทักท้วงอย่างมีเหตุผลได้

3) การพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ตรวจสอบภายในควรหมั่นศึกษาหาความรู้ ทักษะ

และความสามารถอื่นๆ เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา ด้วยการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง และความรู้ที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการ ปฏิบัติงาน บุคลากรได้รับการพัฒนาตามแผน

(4) การประกันคุณภาพ และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

4.1 การประเมินผลจากภายใน

– มีการกำกับดูแลการปฏิบัติงานตามสายการบังคับบัญชาภายในหน่วยงานตรวจสอบ

ภายใน เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามนโยบายและมาตรฐาน

– มีการประเมินตนเองทั้งในระดับบุคคล ระดับหน่วยงาน และบุคลากรในหน่วยงาน

มีส่วนร่วมทุกคน

– มีการสำรวจความพึงพอใจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสรุปผลการสำรวจความพึง

พอใจเสนอผู้บริหาร

4.2 การประเมินจากภายนอก

– มีการประเมินการประกันคุณภาพงานตรวจสอบภายในจากหน่วยงานภายนอกองค์กร

– มีการรายงานผลการประเมินจากภายนอกให้ผู้บริหารทราบ และแนวปรับปรุงแก้ไข

ส่วนที่ 2 มาตรฐานการปฏิบัติงาน

เป็นมาตรฐานที่กล่าวถึงลักษณะของงานด้านตรวจสอบภายในที่ผู้ตรวจสอบภายในต้องถือปฏิบัติเป็นบรรทัดฐานทางคุณภาพที่สามารถนำไปใช้ประเมินผลการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในต้องบริหารงานตรวจสอบภายในอย่างมีประสิทธิผล ดังนี้

  1. การบริหารงานตรวจสอบภายใน

(1) การวางแผนการตรวจสอบ แผนการตรวจสอบ หมายถึง แผนการปฏิบัติงานที่หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในจัดทำขึ้น โดยทำไว้ล่วงหน้า เพื่อประโยชน์ในการสอบทานความก้าวหน้าของงานตรวจสอบเป็นระยะ ได้แก่

– แผนการตรวจสอบระยะยาว เป็นแผนที่จัดทำไว้ล่วงหน้าโดยทั่วไปมีระยะเวลา 3 – 5 ปี และต้องกำหนดให้ครอบคลุมหน่วยรับตรวจที่อยู่ในความรับผิดชอบทั้งหมด

– แผนตรวจสอบประจำปี เป็นแผนที่จัดทำไว้ล่วงหน้า มีระยะเวลา 1 ปี และต้องจัดทำให้สอดคล้องกับแผนการตรวจสอบระยะยาวที่กำหนดไว้

การวางแผนการตรวจสอบ อย่างมีประสิทธิภาพ ควรดำเนินการตามขั้นตอน ได้แก่

1) การสำรวจข้อมูลเบื้องต้น เพื่อให้ผู้ตรวจสอบเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับงานของ

หน่วยงานที่ต้องทำการตรวจสอบในรายละเอียด ซึ่งช่วยให้สามารถประเมินความเสี่ยงในชั้นต้นเพื่อ

กำหนดประเด็นที่คาดว่าเป็นปัญหาสำคัญที่ควรตรวจสอบ

2) การประเมินผลระบบควบคุมภายใน เพื่อประเมินความเพียงพอและประสิทธิผลของ

ระบบควบคุมภายใน และการนำไปปฏิบัติตามที่กำหนดผลงานบรรลุตามเป้าหมายขององค์กร

3) การประเมินความเสี่ยง เพื่อช่วยพิจารณาถึงความเสี่ยง หรือความน่าจะเป็นที่อาจ

เกิดขึ้น และมีผลทำให้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร ขั้นตอนในการประเมินความเสี่ยงประกอบด้วย

– การระบุปัจจัยเสี่ยง เป็นการค้นหาถึงสาเหตุที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงขึ้นภายในองค์กร

– การวิเคราะห์ความเสี่ยง เมื่อระบุสาเหตุความเสี่ยงแล้ว ก็ทำการวิเคราะห์ว่าปัจจัย

เสี่ยง ผลกระทบ โอกาส หรือความถี่ที่จะเกิดมากน้อยเพียงใด

– จัดลำดับความเสียง โดยนำหน่วยงานหรือกิจกรรมมาวางแผนการตรวจสอบตาม

เกณฑ์การประเมินความเสี่ยงจากสูงมากไปหาน้อยสุด

4) การวางแผนการตรวจสอบ จากผลการประเมินระบบการควบคุมภายในและ

การประเมินความเสี่ยง เพื่อหาหน่วยรับตรวจ ที่มีความเสี่ยงระดับสูง กำหนดเป็นหน่วยงานที่ต้องได้รับการเข้าตรวจสอบ โดยการประเมินความเสี่ยง ควรกำหนดให้ครอบคลุม 5 ด้าน ได้แก่

  1. ด้านกลยุทธ์
  2. ด้านการดำเนินงาน
  3. ด้านการบริหารความรู้
  4. ด้านการเงินการบัญชี
  5. ด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ

ซึ่งแผนงานและกิจกรรมตรวจสอบ ในภาพรวมควรครอบคลุมประเภทของงานให้ความ

เชื่อมั่นอย่างน้อย 4 ใน 6 ประเภท ซึ่งมีดังนี้

1) การตรวจสอบทางการเงินบัญชี

2) การตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎระเบียบ

3) การตรวจสอบการปฏิบัติงาน

4) การตรวจสอบผลการดำเนินงาน

5) การตรวจสอบสารสนเทศ

6) การตรวจสอบการบริหาร

(2) การเสนอและอนุมัติแผนการตรวจสอบ แผนการตรวจสอบต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการภายในวันที่ 30 กันยายนของทุกปี และหน่วยตรวจสอบภายในต้องจัดให้มีแผนการตรวจสอบระยะยาว และครอบคลุมทุกหน่วยรับตรวจ ในระยะเวลาไม่เกิน 3 – 5 ปี

(3) การบริหารทรัพยากร มีงบประมาณเพียงพอและมีกรอบอัตรากำลังและมีผู้ปฏิบัติงานตามกรอบอัตรากำลัง ตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป

(4) นโยบายและแนวทางการปฏิบัติงาน

– มีนโยบายของหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน ที่มีการสื่อสารอย่างทั่วถึงภายในหน่วยงานตรวจสอบภายใน

– มีแนวทางการปฏิบัติงาน หรือคู่มือการปฏิบัติงานที่มีรูปแบบสอดคล้องกับโครงสร้าง ขนาดของหน่วยงานตรวจสอบ

(5) การประสานงาน

มีการประสานงาน และการให้ความร่วมมือกับหน่วยตรวจสอบภายในของส่วนราชการอื่นหรือ ผู้ตรวจสอบภายนอกรวมทั้งบุคคลหรือหน่วยงานอื่นที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานตรวจสอบ

(6) การรายงานผลการปฏิบัติงาน มีการรายงานสรุปผลการปฏิบัติงานต่อผู้บริหารอย่างน้อย

ปีละ 3 ครั้ง

  1. ลักษณะงานตรวจสอบภายใน

งานตรวจสอบภายใน มีส่วนช่วยพัฒนาประสิทธิภาพในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง การควบคุม และการกำกับดูแล โดยผู้ตรวจสอบภายในได้วิเคราะห์ปัญหาสาเหตุต่างๆ จากการบริหารความเสี่ยง ในการให้ข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพปรับปรุงระบบงาน

ลักษณะงานตรวจสอบภายใน ได้แก่

2.1 การบริหารความเสี่ยง

2.2 การควบคุม

2.3 การกำกับดูแล

  1. การวางแผนการปฏิบัติงาน

ผู้ตรวจสอบภายในควรจัดทำแผนการปฏิบัติงานตามภารกิจ ให้สอดคล้องกับแผนการตรวจสอบประจำปี โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้น การประเมินผลระบบการควบคุมภายใน ประเมินความเสี่ยง เพื่อให้การวางแผนปฏิบัติงานครอบคลุมประเด็นการตรวจสอบที่มีความสำคัญและควรจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีลักษณะยืดหยุ่น สามารถแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสมตามสภาวการณ์ได้ ดังนี้

3.1 การกำหนดวัตถุประสงค์ และขอบเขตการปฏิบัติงาน ในทุกแผนการปฏิบัติงานเลือกมาสอบทานมีวัตถุประสงค์ และขอบเขตสอดคล้องกับผลการสอบทานระบบการควบคุมภายใน การประเมินความเสี่ยง และมีขอบเขตครอบคลุมเพียงพอ

3.2 การจัดสรรทรัพยากรเหมาะสม แผนปฏิบัติงานต้องมีการจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสม เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน ทรัพยากรหมายถึง

1) บุคลากร

2) งบประมาณ (ถ้ามี)

3) ระยะเวลาที่ใช้

3.3 แนวทางการปฏิบัติงาน ทุกงานที่เลือกมาสอบทานต้องกำหนดแนวทางการปฏิบัติงาน

ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และได้รับความเห็นชอบจากหัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายใน แนวทางการปฏิบัติงานที่ดี ต้องระบุถึงวิธีการคัดเลือกข้อมูล การบันทึกข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ วิธีการระเมินผลอย่างเพียงพอและชัดเจน

  1. การปฏิบัติงานตรวจสอบ

การปฏิบัติงานตรวจสอบ หมายถึง กระบวนการตรวจสอบ สอบทานและรวบรวมหลักฐาน เพื่อวิเคราะห์ และประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ว่าเป็นไปตามนโยบาย แผนงาน ระเบียบปฏิบัติ รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งเสนอข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบ และข้อเสนอแนะต่อผู้บริหารเพื่อประกอบการตัดสินใจในการบริหารงาน โดยดำเนินการปฏิบัติ ได้แก่

4.1 การรวบรวมข้อมูล

4.2 การวิเคราะห์และประเมิน

4.3 การบันทึกข้อมูล และ

4.4 การควบคุมการปฏิบัติงาน

– มีการจัดทำกระดาษทำการมีสาระสำคัญเพียงพอในการสรุปผลการตรวจสอบและได้รับการสอบทานจากหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน

– การเก็บหลักฐาน เช่น แผนการตรวจสอบ แผนการปฏิบัติงาน กระดาษทำการ รายงานผลการตรวจสอบอื่นๆ อย่างเป็นระบบ ระเบียบ

  1. การรายงานผลการปฏิบัติงานตรวจสอบ เป็นการรายงานให้ผู้บริหารทราบถึงวัตถุประสงค์ ขอบเขต วิธีปฏิบัติงาน และผลการตรวจสอบข้อมูลทุกขั้นตอน สรุปข้อบกพร่องที่ตรวจพบประเด็นความเสี่ยง ที่สำคัญ และการควบคุม รวมทั้งเรื่องอื่นๆ พร้อมข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุง เสนอผู้บริหารหรือผู้ที่เกี่ยวข้องพิจารณาสั่งการแก้ไขปรับปรุงต่อไป

5.1 รูปแบบรายงานผลการปฏิบัติงาน ขึ้นอยู่กับผลของการตรวจสอบและความต้องการของฝ่ายบริหาร รูปแบบและวิธีการรายงานที่ใช้กันโดยทั่งไปมี 2 รูปแบบ

1) การรายงานเป็นลายลักษณ์อักษร (Written Report) เป็นวิธีการรายงานที่มีลักษณะเป็นทางการ ใช้รายงานผลปฏิบัติงานเมื่อการตรวจสอบแล้วเสร็จ โดยจัดทำรายงานสรุปผลการตรวจสอบ เสนอความเห็น หรือข้อเสนอแนะเป็นลายลักษณ์อักษรต่อผู้บริหาร

2) การรายงานด้วยวาจา (Oral Report) ทั้งที่รายงานด้วยวาจาเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ การรายงานด้วยวาจาที่ไม่เป็นทางการ ส่วนใหญ่ใช้กับการรายงานที่ต้องกระทำโดยเร่งด่วนเพื่อจะให้ทันเหตุการณ์ โดยแจ้งให้ผู้บริหารหรือหัวหน้าหน่วยรับตรวจทราบทันทีที่ตรวจพบเพราะหากปล่อยให้ล่าช้าอาจมีความเสียหายมากขึ้น สำหรับการรายงานด้วยวาจาที่เป็นทางการ เป็นการรายงานโดยการเขียนรายงาน และมีการนำเสนอด้วยวาจาประกอบ

5.2 หลักเกณฑ์ในการรายงานผลการปฏิบัติงาน แบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้

1) บทสรุปสำหรับผู้บริหาร เป็นข้อความโดยย่อเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานตรวจสอบของผู้ตรวจสอบภายใน ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับแผนงาน งาน/โครงการที่จะตรวจ ข้อความทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตรวจสอบ สรุปผลการตรวจสอบ และข้อเสนอแนะ การติดตามผล

2) รายละเอียดผลการตรวจสอบ การรายงานผลการปฏิบัติงานควรมีองค์ประกอบ ได้แก่

  1. วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ
  2. ขอบเขตการตรวจสอบ
  3. สรุปผลการตรวจสอบ (หลักเกณฑ์ ข้อตรวจพบ สาเหตุ) ในการปรับปรุงแก้ไข
  4. ผลกระทบ
  5. ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะและแนวทาง

5.3 คุณภาพของรายงานผลการปฏิบัติงาน การรายงานภายในระยะเวลาที่กำหนด รายงานผลการปฏิบัติงานภายใน 2 เดือน และรายงานมีคุณภาพที่ดี คือไม่มีข้อผิดพลาด ไม่เบี่ยงเบน ไม่อคติ ไม่ลำเอียง ไม่ปิดบังข้อเท็จจริง ไม่บิดเบือนในสาระสำคัญ รายงานสะอาดเรียบร้อย

  1. การติดตามผล
  2. การยอมรับสภาพความเสี่ยงของฝ่ายบริหาร การติดตามผลตรวจสอบ พร้อมรายงานผลการติดตามต่อหัวหน้าส่วนราชการโดยสม่ำเสมอ

ส่วนที่ 3 หน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยรับตรวจ

หน่วยรับตรวจ คือ หน่วยงานที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานของส่วนราชการ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่หน่วยตรวจสอบภายใน กำหนดในแผนการตรวจสอบประจำปี และแผนการปฏิบัติงานที่หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในจัดทำขึ้นไว้ล่วงหน้า โดยหน่วยรับตรวจ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ได้แก่

1) อำนวยความสะดวดและให้ความร่วมมือแก่ผู้ตรวจสอบภายใน

2) จัดให้มีระบบการเก็บเอกสาร ในการปฏิบัติงานที่เหมาะสม และครบถ้วน

3) จัดเตรียมรายละเอียดแผนงาน/โครงการ เอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ

4) จัดทำบัญชี และเอกสารประกอบรายการบัญชี พร้อมที่จะให้ผู้ตรวจสอบภายในตรวจสอบได้

5) ชี้แจงและตอบข้อซักถามต่าง ๆ พร้อมทั้งหาข้อมูลเพิ่มเติมให้แก่ผู้ตรวจสอบภายใน

6) ปฏิบัติตามข้อทักท้วง และข้อเสนอแนะของผู้ตรวจสอบภายในในเรื่องต่าง ๆ ที่หัวหน้าส่วนราชการสั่งให้ปฏิบัติ กรณีที่เจ้าหน้าที่ของหน่วยรับตรวจกระทำการโดยจงใจไม่ปฏิบัติ หรือละเลยต่อการ

ปฏิบัติหน้าที่ ให้ผู้ตรวจสอบภายในรายงานหัวหน้าส่วนราชการพิจารณาสั่งการตามควรแก่กรณี

ส่วนที่ 4 จริยธรรมการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน

จริยธรรมการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน กำหนดโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการยกฐานะและศักดิ์ศรีของวิชาชีพตรวจสอบภายในให้ได้รับการยกย่อง และยอมรับจากบุคคลทั่วไปรวมทั้งให้การปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบภายในเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ตรวจสอบภายในจึงต้องประพฤติปฏิบัติตนภายใต้กรอบความประพฤติที่ดีงาม เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น และให้คำปรึกษาอย่างเที่ยงธรรม เป็นอิสระ

แนวปฏิบัติ

  1. หลักปฏิบัติที่กำหนดในจริยธรรมการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน เป็นหลักการพื้นฐานในการปฏิบัติหน้าที่ที่ผู้ตรวจสอบภายในพึงปฏิบัติ โดยใช้สามัญสำนึก และวิจารณญาณอันเหมาะสม
  2. ผู้ตรวจสอบภายใน ควรประพฤติปฏิบัติตนตามกรอบจริยธรรมนี้ นอกเหนือจากการปฏิบัติตามจรรยาบรรณของข้าราชการ และกฎหมายหรือระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้อง
  3. ผู้ตรวจสอบภายในพึงยึดถือ และดำรงไว้ซึ่งหลักปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

3.1 ความซื่อสัตย์ (Integrity) ความซื่อสัตย์ของผู้ตรวจสอบภายในจะสร้างให้เกิดความไว้วางใจ และทำให้ดุลยพินิจของผู้ตรวจสอบภายในมีความน่าเชื่อถือ และยอมรับจากบุคคลทั่วไป

3.2 ความเที่ยงธรรม (Objectivity) ผู้ตรวจสอบภายในจะแสดงความเที่ยงธรรมเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพในการรวบรวมข้อมูล ประเมินผล และรายงานด้วยความไม่ลำเอียง ผู้ตรวจสอบภายในต้องทำหน้าที่อย่างเป็นธรรมในทุก ๆ สถานการณ์ และไม่ใช้ความรู้สึกส่วนตัวหรือความรู้สึกนึกคิดของบุคคลอื่นเข้ามามีอิทธิพลเหนือการปฏิบัติงาน

3.3 การปกปิดความลับ (Confidentiality) ผู้ตรวจสอบภายในจะเคารพในคุณค่าและสิทธิของผู้เป็นเจ้าของข้อมูลที่ได้รับทราบจากการปฏิบัติงาน และไม่เปิดเผยข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรง ยกเว้นในกรณีที่มีพันธะในแง่ของงานอาชีพและเกี่ยวข้องกับกฎหมายเท่านั้น

3.4 ความสามารถในหน้าที่ (Competency) ผู้ตรวจสอบภายในจะนำความรู้ ทักษะและประสบการณ์มาใช้ในการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่

หลักปฏิบัติ

  1. ความซื่อสัตย์ (Integrity)

1.1 ผู้ตรวจสอบภายในต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความซื่อสัตย์ ขยันหมั่นเพียรและมีความรับผิดชอบ

1.2 ผู้ตรวจสอบภายในต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และเปิดเผยข้อมูลตามวิชาชีพที่กำหนด

1.3 ผู้ตรวจสอบภายในต้องไม่เข้าไปเกี่ยวข้องในการกระทำใด ๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย หรือ ไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการกระทำที่อาจนำความเสื่อมเสียมาสู่วิชาชีพการตรวจสอบภายใน หรือสร้างความเสียหายต่อส่วนราชการ

1.4 ผู้ตรวจสอบภายในต้องให้ความเคารพและสนับสนุนการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและจรรยาบรรณของทางราชการ

  1. ความเที่ยงธรรม (Objectivity)

2.1 ผู้ตรวจสอบภายใน ต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือสร้างความสัมพันธ์ใด ๆ ที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งกับผลประโยชน์ของทางราชการ รวมทั้งกระทำการใด ๆ ที่จะทำให้เกิดอคติลำเอียงจนเป็นเหตุให้ไม่สามารถปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบได้อย่างเที่ยงธรรม

2.2 ผู้ตรวจสอบภายในไม่พึงรับสิ่งของใดๆ ที่จะทำให้เกิดหรือก่อให้เกิดความไม่เที่ยงธรรมในการใช้วิจารณญาณเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพพึงปฏิบัติ

2.3 ผู้ตรวจสอบภายในต้องเปิดเผยหรือรายงานข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญทั้งหมดที่ตรวจพบ ซึ่งหากละเว้นไม่เปิดเผยหรือไม่รายงานข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว อาจจะทำให้รายงานบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริง หรือเป็นการปิดบังการกระทำผิดกฎหมาย

  1. การปกปิดความลับ (Confidentiality)

3.1 ผู้ตรวจสอบภายใน ต้องมีความรอบครอบในการใช้และรักษาข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับจากการปฏิบัติงาน

3.2 ผู้ตรวจสอบภายใน ต้องไม่นำข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับจากการปฏิบัติงานไปใช้แสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเอง และจะไม่กระทำการใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมายและประโยชน์ของทางราชการ

  1. ความสามารถในหน้าที่ (Competency)

4.1 ผู้ตรวจสอบภายใน ต้องปฏิบัติหน้าที่เฉพาะในส่วนที่ตนมีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และประสบการณ์ที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานเท่านั้น

4.2 ผู้ตรวจสอบภายใน จะต้องปฏิบัติหน้าที่โดยยึดหลักมาตรฐานการตรวจสอบภายในของส่วนราชการ

4.3 ผู้ตรวจสอบภายใน ต้องพัฒนาศักยภาพของตนเอง รวมทั้งพัฒนาประสิทธิผลและคุณภาพของการให้บริการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

 

การอ้างอิง

หนังสือสำนักกำกับและพัฒนาการตรวจสอบภาครัฐ กรมบัญชีกลาง

– มาตรฐานการตรวจสอบภายในและจริยธรรมการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในของส่วนราชการ

– แนวทางการประกันคุณภาพงานตรวจสอบภายในภาครัฐ

ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการตรวจสอบภายในของส่วนราชการ พ.ศ. 2551

Comments

No comments yet. Why don’t you start the discussion?

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *