ระบบคัดกรองนักเรียนยากจน

  1. หลักการ    

ด้วยพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ.2561 มาตรา 5(2) กำหนดวัตถุประสงค์ของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เพื่อให้ความช่วยเหลือ ส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนเงิน และค่าใช้จ่ายให้แก่เด็กและเยาวชนซึ่งขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส และผู้ด้อยโอกาส จนสำเร็จการศึกษา ขั้นพื้นฐาน
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา(กสศ.) จึงร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ จัดทำโครงการจัดสรรเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษแบบมีเงื่อนไข (Conditional Cash Transfer: CCT) โดยเชื่อมโยงข้อมูลนักเรียนยากจนผ่านระบบการคัดกรองปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน เพื่อสนับสนุน การจัดสรรเงินอุดหนุนอย่างมีเงื่อนไขให้แก่นักเรียนยากจนพิเศษในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยในปีการศึกษา 2562 จะจัดสรรเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษแบบมีเงื่อนไข ทั่วประเทศในระดับประถมศึกษา ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ต่อเนื่องจากปีการศึกษา 2561 และเพิ่ม ในระดับอนุบาล 10 จังหวัด (ประกอบด้วย เชียงใหม่ เชียงราย ร้อยเอ็ด ขอนแก่น กาญจนบุรีนนทบุรี สระแก้ว สุราษฎร์ธานียะลา และภูเก็ต) ทั้งนี้เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของครอบครัว บรรเทา อุปสรรคการมาเรียน เสริมสร้างทักษะอาชีพและโอกาสทางการศึกษาของนักเรียนยากจนพิเศษได้ตามศักยภาพ2. วัตถุประสงค์

เพื่อสนับสนุนเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษแบบมีเงื่อนไข (Conditional Cash Transfer: CCT) สำหรับบรรเทาอุปสรรคการมาเรียน และสนับสนุนสถานศึกษาให้สามารถส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษาและ พัฒนาการของนักเรียนยากจนพิเศษที่สอดคล้องกับความถนัดและความต้องการตามศักยภาพเป็นรายบุคคล

  1. นิยาม
  2. นักเรียนยากจนพิเศษ : หมายถึง นักเรียนยากจนที่ผ่านเกณฑ์การคัดกรองผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ แบบ (Proxy Means Test: PMT) จากระบบปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจนของ สพฐ. และอยู่ในกลุ่มที่มี ค่าคะแนนความยากจนอยู่ที่ระดับ 0.91-1.00 (Extremely Poor)
  3. นักเรียนยากจน : นักเรียนยากจนที่ผ่านเกณฑ์การคัดกรองผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์แบบ (Proxy Means Test: PMT) จากระบบปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจนของ สพฐ. และอยู่ในกลุ่มที่มีค่าคะแนนความยากจน อยู่ที่ระดับ 0.71-0.90 (Poor)
  4. เงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษแบบมีเงื่อนไข (Conditional Cash Transfer: CCT) : หมายถึง เงินอุดหนุนที่สำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จัดสรรให้แก่ นักเรียนยากจนพิเศษตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด โดยนักเรียนยากจนพิเศษที่ได้รับเงินจาก กสศ. จะต้องรักษาอัตราการมาเรียน สูงกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด
  5. ค่าครองชีพ : หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาเรียน และค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพระหว่างเรียน
  6. ค่าอาหาร : หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาอาหารเช้าสำหรับนักเรียนยากจนพิเศษระดับ อนุบาล-ประถมศึกษา และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาอาหารเช้าและ/หรืออาหารกลางวันสำหรับ นักเรียนยากจนพิเศษระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
  7. ค่ากิจกรรมการพัฒนานักเรียนยากจนพิเศษ : หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และกิจกรรมการพัฒนานักเรียนยากจนพิเศษให้มีทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ
  8. จำนวนสมาชิกในครัวเรือน  หมายถึง จำนวนสมาชิกทั้งหมดของครัวเรือน (มีชื่ออยู่ในทะเบียน บ้านหรือไม่ก็ได้) ทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน จัดหา หรือใช้สิ่งอุปโภคบริโภคอันจำเป็นแก่การ ครองชีพร่วมกัน โดยบุคคลเหล่านั้นอาจเป็นญาติ หรือไม่เป็นญาติก็ได้ ไม่นับสมาชิกที่ไปทำงานที่อื่น โดยไม่ได้กลับมาพักนอนที่บ้านนานเกิน 3 เดือนในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา (ระยะเวลานับจากเดือน ก่อนสัมภาษณ์ย้อนหลังไป 12 เดือน เช่น เดือนที่สัมภาษณ์ คือ เดือนมิถุนายน 2562 ในรอบ 12 เดือน ที่ผ่านมา คือ เมษายน 2561– พฤษภาคม 2562) หากมีสมาชิกในครัวเรือนไปพำนักอาศัยอยู่ที่อื่น เกินกว่า 3 เดือน ไม่นับเป็นสมาชิกในครัวเรือน
  9. รายได้ของสมาชิกในครัวเรือน หมายถึง รายได้ของสมาชิกแต่ละคนต่อเดือน หากไม่มีรายได้ให้ กรอก 0 รายได้ของนักเรียนไม่นับเป็นรายได้ของครัวเรือน กรณีที่สมาชิกในครัวเรือนมีรายได้ที่ได้รับ จากสมาชิกที่ไปทำงานที่อื่นให้นับด้วย
  10. รายได้ในครัวเรือน หมายถึง รายได้ของสมาชิกทุกคนในครัวเรือนรวมกัน
  11. รายได้ในครัวเรือนเฉลี่ยต่อคน หมายถึง รายได้ของสมาชิกทุกคนในครัวเรือนรวมกัน หารด้วย จำนวนสมาชิกของครัวเรือนทั้งหมด
  12. ความพิการ หมายถึง ผู้ที่มีความพิการทางด้านร่างกาย และด้านสติปัญญา
  13. ความพิการทางร่างกาย หมายถึง ผู้พิการทางการมองเห็น ทางการได้ยิน ทางการสื่อความหมาย และทางกายหรือการเคลื่อนไหว
  14. ความพิการทางสติปัญญา หมายถึง ผู้พิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม และทางสติปัญญาและการ เรียนรู้
  15. โรคเรื้อรัง ตามนิยามที่กระทรวงสาธารณสุขใช้มี 2 นิยาม คือ
    (1) โรคเรื้อรัง คือ ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ หรือภาวะที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายตาม
    อายุส่วนใหญ่จะไม่มีสาเหตุที่แน่นอน มีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง มีระยะเวลาฟักตัวของโรครวมถึงระยะ เวลาของการดำเนินโรคที่ยาวนาน ไม่ติดต่อโดยทางสัมผัส สามารถทำให้เกิดความพิการหรือ การทำงานที่ผิดปกติของร่างกาย และรักษาไม่หาย
    (2) โรคเรื้อรัง คือ ภาวะที่มีความผิดปกติหรือเบี่ยงเบนไปจากปกติของร่างกาย เป็นภาวะที่เป็นอย่างถาวร ทำให้เกิดความพิการ เกิดจากความเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพที่ไม่สามารถรักษาให้กลับ คืนเป็นปกติได้ ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะนี้ต้องการการกายภาพบำบัดหรือการปรับตัวสำหรับภาวะนี้ นอกจากนั้นยังต้องการรักษาติดตามดูแลในระยะยาว รวมทั้งโรคประจำตัวที่สามารถรักษา หายได้ แต่ถ้ารักษาติดต่อกันนานเกิน 3 เดือนแล้วยังไม่หาย ยังต้องรักษาต่อไป ให้ถือว่าเป็น โรคเรื้อรัง

       เกณฑ์การพิจารณาการจัดสรร
1. การคัดกรองนักเรียนยากจนในสถานศึกษาสังกัด สพฐ. ระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา ตอนต้น และระดับอนุบาล 10 จังหวัด ประจำปีการศึกษา 2562 กสศ. ใช้การประเมินจากข้อมูล 2 ประเภท
ดังต่อ ไปนี้
1) ข้อมูลรายได้เฉลี่ยสมาชิกครัวเรือนต่อคนต่อเดือน พิจารณารายได้เฉลี่ยต่อคน ไม่เกิน 3,000 บาท ต่อเดือน
2) ข้อมูลสถานะครัวเรือน 8 ด้าน ได้แก่
1. สมาชิกครัวเรือนที่มีภาระพึ่งพิง (พิการ ผู้สูงอายุ หรือไม่มีรายได้
2. การอยู่อาศัยสภาพที่อยู่อาศัย
3. ที่ดินทำการเกษตร (รวมเช่า)
4. แหล่งน้ำดื่ม/ใช้
5. แหล่งไฟฟ้าหลัก
6. ยานพาหนะในครัวเรือน
7. ของใช้ในครัวเรือน (ที่ใช้งานได้)

การบันทึกข้อมูลรายได้และข้อมูลสถานะครัวเรือน   ให้มีการรับรองความถูกต้อง ของข้อมูลโดย 3 ฝ่ายดังต่อไปนี้

1) ผู้ปกครองของนักเรียน
2) ผู้อำนวยการสถานศึกษา
3) เจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้เป็นไปตามประกาศสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดให้มีการรับรองข้อมูลการขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสโดยเจ้าหน้าที่ ของรัฐ ดังนี้ การรับรองข้อมูลการขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาส ให้ผู้ดำเนินโครงการจัดให้เจ้าหน้าที่ของ รัฐในตำบลที่กลุ่มเป้าหมายที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสอาศัยอยู่ในพื้นที่ ดังต่อไปนี้เป็น ผู้รับรอง

(1) ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 5

(2) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

(3) ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น

ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้รับรองและลงลายมือชื่อในเอกสารรับรองและแนบสำเนาบัตรประจำตัว พร้อม

รับรองสำเนาถูกต้อง ซึ่งอาจกระทำในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

ข้อมูลรายได้และสถานะครัวเรือนจะถูกนำมาคำนวณด้วยวิธีการทางสถิติแบบวัดรายได้ทางอ้อม

(Proxy-Means-Tests: PMT) โดยกำหนดน้ำหนักให้กับสถานะครัวเรือน เป็นคะแนนความขาดแคลนทุนทรัพย์ของนักเรียน (ระดับความยากจน)  ค่าระหว่าง 0 ถึง 1 หมายถึง จนน้อย ถึง จนมากที่สุด  สามารถแบ่งออกได้ เป็นสามระดับ คือ

  • กลุ่มที่หนึ่ง ระดับยากจนพิเศษ (Extreme Poor) คะแนนความขาดแคลนทุนทรัพย์ มากกว่า

0.9 ขึ้นไป

(2) กลุ่มที่สอง ระดับยากจน (Poor) คะแนนความขาดแคลนทุนทรัพย์ อยู่ระหว่าง 0.71 – 0.90

(3) กลุ่มที่สาม ระดับใกล้จน (Near Poor) คะแนนความขาดแคลนทุนทรัพย์ อยู่ระหว่าง 0.51 –

0.70

การจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่นักเรียนยากจนพิเศษแบบมีเงื่อนไขที่อยู่ในกลุ่มที่มีผลคะแนนความยากจนที่ ระดับ 0.91-1.00 (Extremely Poor) ประจำปีการศึกษา 2562  ในครั้งนี้ ทางกองทุนฯ แบ่งการจัดสรรเงินออกเป็น   2 ส่วน เท่าๆ กัน คือ

ส่วนที่ 1  เป็นเงินอุดหนุนช่วยเหลือค่าครองชีพแก่นักเรียนยากจนพิเศษแบบมีเงื่อนไข ที่อยู่ในกลุ่มที่มีผล คะแนนความยากจนที่ระดับ 0.91-1.00 (Extremely Poor)

ส่วนที่ 2  เป็นเงินอุดหนุนแก่สถานศึกษาเพื่อดำเนินกิจกรรมทางการศึกษาในการเสริมสร้างพัฒนาทักษะ ชีวิต ทักษะอาชีพ รวมถึงค่าอาหารที่ทางสถานศึกษาจัดหาให้แก่นักเรียนยากจนพิเศษ  ทั้งนี้ มิให้นำเงินส่วนที่ 2 ไปจัดสรรเป็นเงินอุดหนุนเพิ่มเติมในส่วนที่ 1 อีกไม่ว่ากรณีใด

ลักษณะการใช้จ่ายงบประมาณ สำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จะโอนเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษแบบมี เงื่อนไข (Conditional Cash Transfer: CCT) ให้ตามช่องทางที่นักเรียนยากจนพิเศษขอรับเงินอุดหนุน ซึ่งประกอบด้วย ทางเลือก 2 ช่องทาง ดังนี้

1) เข้าบัญชีธนาคารของสถานศึกษา (ตามหลักเกณฑ์ที่ กสศ. กำหนดเรื่องการเปิดบัญชีธนาคาร)  สำหรับกรณีที่นักเรียนยากจนพิเศษขอรับเงินสดผ่านสถานศึกษา โดยวิธีการและการจัดส่งหลักฐานการรับเงิน ให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายที่ กสศ.กำหนด

2) เข้าบัญชีธนาคารของนักเรียนยากจนพิเศษ/ผู้ปกครองของนักเรียนยากจนพิเศษรายนั้นๆ

การใช้จ่ายงบประมาณ

วิธีการใช้จ่ายงบประมาณเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษแบบมีเงื่อนไข (Conditional Cash Transfer: CCT) สามารถใช้จ่ายเพื่อ

1) ค่าครองชีพ

2) ค่าอาหาร

3) ค่ากิจกรรมการพัฒนานักเรียนยากจนพิเศษ กรณีการจ่ายเป็นเงินสดให้แก่นักเรียนยากจนพิเศษโดยตรง สถานศึกษาจะต้องเบิกจ่ายเงินให้แก่นักเรียน ยากจนพิเศษภายใน 15 วันทำการ  โดยให้ผู้ปกครองลงลายมือชื่อในใบสำคัญรับเงิน และแนบภาพถ่ายบัตรประชาชน ของผู้ปกครองผ่านแอพพลิเคชัน  พร้อมทั้งแนบภาพถ่ายการรับเงินสด   ซึ่งภาพถ่ายจะต้องประกอบด้วย นักเรียน ยากจนพิเศษ ผู้ปกครอง ผู้อำนวยการสถานศึกษา และครู รวมจำนวน 4 คน รายละเอียดตามแบบ (นร.06)  โดยบันทึกการรับเงินและภาพถ่ายผ่านแอพพลิเคชัน cct.thaieduforall.org

กรณีการจัดซื้อจัดจ้างต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ  พ.ศ. 2560 ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 และกฎกระทรวงที่ เกี่ยวข้อง

สำหรับนักเรียนยากจนพิเศษที่ผ่านการรับรองและตรวจสอบข้อมูลจากคณะกรรมการสถานศึกษา  ตามบัญชีรายชื่อการจัดสรรจาก กสศ. หากมีการย้าย ลาออกและไม่สามารถมารับเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษ แบบมีเงื่อนไขได้ ให้สถานศึกษาส่งคืนเงินอุดหนุนเฉพาะส่วนของนักเรียนยากจนพิเศษที่ได้รับการจัดสรรนั้น กลับคืนให้ กสศ.

ตัวอย่าง นักเรียนได้รับเงินอุดหนุน 1,000 บาท/ภาคเรียน  แบ่งเป็นส่วนของนักเรียน 500 บาท โรงเรียน 500 บาท ให้คืนเฉพาะส่วนของนักเรียน 500 บาท เท่านั้น โดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของ กสศ. เข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย  กสศ.-เงินอุดหนุน ม.6 (3) 172-0-29581-6  ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร  ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร กสศ.-เงินอุดหนุน ม.6 (3) 020149128856 ธนาคารออมสิน ธนาคารออมสิน กสศ.-เงินอุดหนุน ม.6 (3) 020258268869

ทั้งนี้  ให้สถานศึกษาบันทึกข้อมูลในแต่ละครั้งที่มีการส่งคืนเงิน พร้อมส่งหลักฐานการส่งคืนเงินเป็นภาพถ่าย    สลิปการโอนเงินคืนให้สำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ผ่านแอพพลิเคชั่น cct.thaieduforall. org ภายใน 30 วันหลังจากที่ กสศ. ได้โอนเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษแบบมีเงื่อนไขให้สถานศึกษา

การเบิกจ่าย และสัดส่วนเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษแบบมีเงื่อนไข ในปีการศึกษา 2562 เงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษ 3,000 บาท/คน/ปี* จำนวนเงินในการโอนเงิน ต่อภาคเรียน สัดส่วนการจ่ายเงิน ต่อภาคเรียน ตรงไปที่ครอบครัว นักเรียน สถานศึกษา บริหารจัดการ ภาคเรียนที่ 1/2562 ภาคเรียนที่ 2/2562 ผู้ปกครอง/ นักเรียน สถานศึกษา 1,500 บาท/ปี 1,500 บาท/ปี 1,000 2,000 50% 50% * ภาคเรียนที่ 1/2562 กสศ. เบิกจ่ายจากงบประมาณประจำปี 2562 ได้รับอนุมัติให้จัดสรรแล้ว สำหรับภาคเรียนที่ 2/2562 เป็นงบประมาณประจำปี 2563 ซึ่งอยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาอนุมัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปี

การเปิดบัญชีธนาคารเพื่อขอรับเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษ แบบมีเงื่อนไข

การเปิดบัญชีธนาคารเพื่อขอรับเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษแบบมีเงื่อนไขในสถานศึกษาสังกัด สพฐ. กสศ.

กำหนดให้สถานศึกษา และ/หรือนักเรียนยากจนพิเศษเปิดบัญชีธนาคารเพื่อขอรับเงินอุดหนุนนักเรียนยากจน พิเศษแบบมีเงื่อนไข ดังนี้

1) บัญชีสถานศึกษา ให้สถานศึกษาเปิดบัญชีธนาคารเพื่อรับเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษแบบมี เงื่อนไข ชื่อบัญชี “กสศ.เพื่อโรงเรียน..(ระบุชื่อโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ)…….” หรือ “โรงเรียน….(ระบุชื่อโรงเรียน ที่เข้าร่วมโครงการฯ)….เพื่อรับเงินอุดหนุน กสศ.” โดยให้คณะกรรมการสถานศึกษาแต่งตั้งผู้มีอำนาจเบิกจ่ายเงิน จากบัญชีธนาคาร อย่างน้อยจำนวน 3 คน และให้มีอำนาจลงนาม 2 ใน 3 สถานศึกษาสามารถเลือกเปิดบัญชี ธนาคารได้ ดังนี้

(1) ธนาคารกรุงไทย บัญชีเงินฝากออมทรัพย์

(2) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร บัญชีเงินฝากออมทรัพย์

(3) ธนาคารออมสิน บัญชีเงินฝากเผื่อเรียก บัญชีเงินฝากธนาคารของสถานศึกษานี้ใช้สำหรับรับเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษแบบมีเงื่อนไขทั้งส่วน ของนักเรียนยากจนพิเศษที่ขอรับเงินสดที่โรงเรียนและส่วนที่สถานศึกษาใช้จัดกิจกรรมการพัฒนานักเรียนยากจน พิเศษด้วย

2) บัญชีนักเรียนยากจนพิเศษ นักเรียนยากจนพิเศษที่ได้รับการตรวจสอบตาม นร.05 แล้วให้ครูที่ รับผิดชอบการคัดกรอง  สอบถามความต้องการช่องทางการรับเงิน และระบุชื่อบัญชี เลขบัญชีธนาคารของนักเรียน ยากจนพิเศษ/ผู้ปกครอง   โดยสามารถเลือกเปิด/ใช้บัญชีธนาคารได้ ดังนี้

(1) ธนาคารกรุงไทย บัญชีเงินฝากออมทรัพย์

(2) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร บัญชีเงินฝากออมทรัพย์

(3) ธนาคารออมสิน บัญชีเงินฝากเผื่อเรียก

ในกรณีที่นักเรียนยากจนพิเศษไม่สามารถเปิดบัญชีธนาคารได้ ไม่มีผู้ปกครอง หรือผู้ปกครองไม่สามารถ เปิดบัญชีธนาคารได้ ควรเลือกช่องทางการรับเงินสดผ่านโรงเรียน

การส่งหลักฐานการเปิดบัญชีธนาคาร

ให้สถานศึกษาส่งหลักฐานการเปิดบัญชีธนาคารของสถานศึกษา และ/หรือของนักเรียนยากจนพิเศษ/ ผู้ปกครองของนักเรียนยากจนพิเศษนั้น โดยบันทึกข้อมูลชื่อบัญชี และเลขที่บัญชี พร้อมแนบภาพถ่ายหน้าสมุด บัญชีธนาคาร (ชื่อบัญชี และเลขที่บัญชีที่ชัดเจนและตรงตามรายละเอียดใน นร.05) ผ่านระบบเว็ปแอพพลิเคชัน cct.thaieduforall.org

แนวทางการดำ เนินงานของ สถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา และสำ นักงานเขตพื้นที่

1) ระดับสถานศึกษา

(1) ครูบันทึกข้อมูลเพื่อคัดกรองความยากจน ด้วยวิธีการวัดรายได้ทางอ้อม (Proxy Mean Tests ลง พื้นที่เยี่ยมบ้าน ใช้ Mobile Application (ใช้ได้ทั้ง online-offlfline) หรือเว็บไซต์ CCT เพื่อบันทึกข้อมูล รายได้ สถานะครัวเรือน ถ่ายภาพบ้าน เช็คอินบ้าน (ส่วนของครูประจำชั้น)

(2) ครูนำข้อมูลการคัดกรองความยากจนให้ผู้ปกครอง/ผู้แทน ผู้อำนวยการสถานศึกษา และเจ้าหน้าที่ ของรัฐ* “รับรองสถานะครัวเรือนของนักเรียน” (ส่วนของครูประจำชั้น)

(3) กสศ.ประกาศรายชื่อ “นักเรียนยากจนพิเศษ” ให้สถานศึกษานำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ สถานศึกษา เพื่อรับรองผลการบันทึกข้อมูลนักเรียนยากจนพิเศษของสถานศึกษาขั้นสุดท้าย

(4) สถานศึกษาจัดทำแผน/ผลการใช้เงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษปีการศึกษา 2562 ครั้งที่ 1 แบบ ก.001 และครั้งที่ 2 แบบ ก.002 (ส่วนของผู้ดูแลระบบ)

(5) กสศ.จัดสรรเงินอุดหนุน “นักเรียนยากจนพิเศษ” ผ่านบัญชีธนาคารสถานศึกษา (ตามหลักเกณฑ์ ที่ กสศ. กำหนด) และ/หรือบัญชีธนาคารนักเรียนยากจนพิเศษ/ผู้ปกครอง ตามที่สถานศึกษาบันทึก ข้อมูลให้แก่ กสศ.

(6) สถานศึกษาดำเนินการจ่ายเงินให้แก่นักเรียนยากจนพิเศษที่ขอรับเงินสดผ่านสถานศึกษา และ จัดกิจกรรมพัฒนานักเรียนยากจนพิเศษ

(7) สถานศึกษาบันทึกการมาเรียน และน้ำหนัก-ส่วนสูง “นักเรียนยากจนพิเศษ”

2) ระดับคณะกรรมการสถานศึกษา

ผู้อำนวยการสถานศึกษาเรียกประชุมผู้แทนคณะกรรมการสถานศึกษา ประกอบด้วย ประธาน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้แทนชุมชน ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้อำนวยการสถานศึกษา และครูที่รับผิดชอบการคัดกรอง เพื่อรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลผลการคัดกรองนักเรียนยากจนพิเศษ ก่อนดำเนินการจัดส่งรายชื่อนักเรียน ยากจนพิเศษและข้อมูลที่ได้รับการรับรองให้แก่ กสศ.

ในการประชุมรับรองข้อมูลนักเรียนยากจนพิเศษ ผู้แทนคณะกรรมการสถานศึกษาจะต้องพิจารณาข้อมูล ดังต่อไปนี้

(1) รับรองข้อมูลการบันทึกข้อมูลนักเรียนยากจนพิเศษ ตามที่ครูบันทึกในแบบ นร.01

(2) กรณีที่คณะกรรมการสถานศึกษาพิจารณาแล้วเห็นว่านักเรียนที่ผ่านการคัดกรองนักเรียนยากจน พิเศษ แต่ไม่สมควรได้รับเงินอุดหนุนเพิ่มเติมให้ระบุเหตุผลประกอบด้วย

(3) รับรองแผนการใช้เงินของสถานศึกษาและแบบ ก.001 สำหรับค่าอาหารและค่ากิจกรรมการพัฒนา นักเรียนยากจนพิเศษ โดยบันทึกลงระบบแอพพลิเคชั่น CCT

(4) ระบุมติที่ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาในการพิจารณารับรองข้อมูลนักเรียนยากจนพิเศษ

3) ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

3.1 สนับสนุนกระบวนการคัดกรองของสถานศึกษาและรับรองข้อมูลของคณะกรรมการสถานศึกษา ติดตามการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนของสถานศึกษา ติดตามผลการบันทึกการมาเรียนหรือน้ำ หนักส่วนสูง สนับสนุนการ สร้างความเข้าใจในขั้นตอนการดำเนินงานและการใช้ระบบแอพพลิเคชันให้แก่สถานศึกษา

3.2 ลงพื้นที่ตรวจสอบผลการดำเนินงานตามกระบวนการคัดกรองนักเรียนยากจนพิเศษแบบมีเงื่อนไช ติดตามการจ่ายเงินให้กับนักเรียนยากจนพิเศษและการเบิกจ่ายตามแผน/ผลการใช้จ่ายเงินอุดหนุนนักเรียนยากจน พิเศษของสถานศึกษาให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

10.แบบฟอร์มการบันทึกข้อมูลการตรวจสอบ รับรอง การขอรับเงิน อุดหนุน และรายงานผลนักเรียนยากจนพิเศษ

แบบฟอร์มสำหรับการบันทึกข้อมูลโครงการจัดสรรเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษแบบมี เงื่อนไขในสถาน ศึกษาสังกัด สพฐ. ประจำปีการศึกษา 2562 มีดังนี้

10.1 แบบคัดกรองนักเรียนยากจนพิเศษ (นร.01)

10.2 แบบรับรองผลการพิจารณาเพื่อรับเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษ (แบบ นร.05)

10.3 แบบหนังสือแจ้งผลการรับเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษแบบมีเงื่อนไขรายบุคคล (นร.08)

10.4 ใบสำคัญรับเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษ (แบบ นร.06)

10.5 แบบแผนการใช้เงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษ (ก.001) /แบบรายงานแผนการใช้เงินอุดหนุน นักเรียนยากจนพิเศษ (ก.002)

10.6 แบบรายงานสรุปการใช้จ่ายเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษของสถานศึกษา เพื่อรายงานสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา (แบบ นร.09)

คำ อธิบายเพิ่มเติมในการกรอกข้อมูล

ผู้จัดเก็บข้อมูลควรศึกษานิยาม แบบนร.01 อย่างรอบคอบ เพื่อให้การคัดกรองนักเรียนยากจนถูกต้องตาม ความเป็นจริง โดยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้

1) ชื่อนักเรียนและนามสกุล ควรตรวจสอบให้ตรงกับข้อมูลนักเรียนยากจน ณ ภาคเรียนที่ 1 วันที่ 10 มิถุนายน ของทุกปี หรือภาคเรียนที่ 2 วันที่ 10 พฤศจิกายน ของทุกปี ที่โรงเรียนกรอกในระบบ DMC

ชื่อผู้ปกครองนักเรียน

เป็นผู้ปกครองนักเรียนที่เป็นทางการและเป็นปัจจุบัน อาจไม่ตรงกับผู้ปกครอง ในทะเบียนนักเรียนกรณีที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในครัวเรือนปัจจุบัน

2) ข้อมูลสมาชิกในครัวเรือน

– ให้กรอกข้อมูลสมาชิกทุกคนในครัวเรือน รวมตัวนักเรียนด้วย

– อายุ ให้กรอกจำนวนเต็มปีบริบูรณ์ กรณีที่เด็กอายุต่ำหว่า 1 ปี ให้กรอก 0

– ในช่องความพิการทางร่างกาย/สติปัญญา ถ้ามีความพิการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างให้ เลือก “ใช่” ถ้าไม่มีเลือก “ไม่ใช่”

– รายได้ในตารางเป็นรายได้รายเดือน กรณีที่รายได้ไม่แน่นอนให้สอบถาม (รายวัน หรือทั้งปี) แล้ว เฉลี่ยเป็นรายเดือน

– รายได้จากการประกอบอาชีพทางการเกษตร ให้คำนึงถึงรายได้หลัก ประเมินรายได้ทั้งปีหักค่าใช้ จ่ายแล้วนำมาหารด้วย 12 เดือน

– รายได้จากค่าจ้าง/รับจ้าง ให้ประเมินจากจำนวนวันทำงานใน 1 เดือน

Comments

No comments yet. Why don’t you start the discussion?

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *