มาตรฐานการตรวจสอบภายใน และจริยธรรมการปฏิบัติงาน

มาตรฐานการตรวจสอบภายใน และจริยธรรมการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในของส่วนราชการ

ข้อปฏิบัติที่สำคัญ ในการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่

            ส่วนที่ 1 มาตรฐานด้านคุณสมบัติ

เป็นมาตรฐานที่กล่าวถึงลักษณะของหน่วยงาน และบุคลากรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบภายใน ดังนี้

(1) กำหนดวัตถุประสงค์ อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ มีการกำหนดกรอบความประพฤติเกี่ยวกับความเที่ยงธรรม และข้อจำกัดของความเป็นอิสระไว้ใน กฎบัตรการตรวจสอบภายใน โดยแนวทางการประกันคุณภาพงานตรวจสอบภายในภาครัฐ พ.ศ. 2555 กำหนดเกณฑ์การพิจารณาในการประเมิน ไว้ดังนี้

1) หน่วยตรวจสอบภายในจัดทำกฎบัตรโดยให้สอดคล้องกับคำนิยามของตรวจสอบภายในที่กำหนดไว้ในระเบียบ มีองค์ประกอบครบถ้วน ประกอบด้วย

วัฒนธรรมองค์กรของชาว สพป.ราชบุรี เขต 1

วัฒนธรรมองค์กรของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี  เขต 1    เป็นแบบแผนหรือวิถีชีวิตขององค์กร             ที่บุคลากรยอมรับและยึดถือปฏิบัติร่วมกัน     เป็นทั้งแบบแผนทางความคิด ความเชื่อ ค่านิยม อุดมการณ์ขององค์กร   เป็นแบบแผนทางการกระทำขององค์กรและปฏิสัมพันธ์ของบุคลากรในองค์กร     ซึ่งถ้าหากหน่วยงานมีวัฒนธรรมองค์กรที่ดี     จะส่งผลให้การทำงานของทุกคนดี  ทำให้ผู้รับบริการได้รับบริการที่ดีมีคุณภาพ  รวมทั้งทำให้เกิดความพึงพอใจ

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1  มีค่านิยมองค์กรร่วม  (Shared  values)   ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่องค์กรคาดหวังให้บุคคลในองค์กร   ยอมรับร่วมกันและปฏิบัติงานเหมือนกัน อันจะส่งผลการเพิ่มผลงานขององค์กรให้มีคุณภาพ และได้กำหนดวิสัยทัศน์ นโยบายและมาตรการเพื่อขับเคลื่อนงานโดยใช้รูปแบบ ครอพ แอน คิว (CROP & Q MODEL) ซึ่ง CROP แปลว่า  ผลที่เก็บได้   ตามนัยของความหมายเปรียบเสมือนผลลัพธ์ที่ได้จากการทำงาน   และ Q  คือ  Quality  หมายถึงคุณภาพ  เป็นการคาดหวังให้บริหารจัดการได้ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพ      นอกจากการกำหนดนโยบายและเป้าหมายแล้ว      บุคลากรของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี  เขต  1        ได้ร่วมกันกำหนดค่านิยมหรือคุณลักษณะหรือบรรทัดฐาน  ที่มีความจำเป็นและเหมาะสมกับองค์กรขึ้น  โดยความ เห็นชอบร่วมกัน  และใช้เป็นหลักยึดถือปฏิบัติตาม    เพื่อเพิ่มผลลัพธ์จากการปฏิบัติงานให้ดีมีคุณภาพ   เกิดประสิทธิผล   คนมีความสุข   และนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จร่วมกัน ประกาศค่านิยมหลักในการทำงาน ที่เรียกโดยย่อว่า  “ BEST”  แปลว่า  ดี  หมายถึง  การเป็นคนดี  ทำงานดี   มีผลงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ ได้จากอักษรย่อของคำที่มีความหมาย   ดังนี้

             B  : BEST PRACTICES   หมายถึง  มีผลงานดีเด่น   

                     (มีผลงานดีเด่นที่ได้จากการปฏิบัติงาน)

             E  :  ENJOY  หมายถึง มีความสุข (ทำงานอย่างมีความสุข)

             S  :  SERVICE MIND หมายถึง บริการด้วยใจ

                      (ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาไพเราะ บริการรวดเร็ว

             T  :  TEAM WORK  หมายถึง   การทำงานเป็นทีม  (ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ)

การปรึกษาเชิงจิตวิทยา (Counseling Psycology)

จิตวิทยาเข้ามาเกี่ยวข้องกับทุกแง่มุมของชีวิตไม่ว่าจะเป็น การเกิด แก่ เจ็บ ตาย จิตวิทยาให้คำตอบที่เรานำมาใช้ในการดำรงชีวิตและทำความเข้าใจกับโลกรอบๆตัว ทำไมมนุษย์ในปัจจุบันมีความก้าวร้าวรุนแรง ผู้ชายกับผู้หญิงแตกต่างกันในเรื่องความรัก การตัดสินใจ และการแก้ไขปัญหาอย่างไร เราสามารถทำให้ติดยาได้อย่างไร พ่อแม่ควรเลี้ยงดูลูกอย่างไรจึงจะทำให้ลูกมีสุขภาพจิตที่ดี ทำไมในที่ที่มีคนหน้าแน่นคนมักไม่ค่อยให้ความช่วยเหลือผู้อื่น คำถามเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของงานที่นักจิตวิทยาศึกษาค้นคว้า

การทำวิจัยในชั้นเรียน ไม่ยากอย่างที่คิด

มาถึงช่วงเวลานี้ทุกท่านคงตระหนักดีแล้วว่างานวิจัยในชั้นเรียนนั้นสำคัญอย่างไร แต่อยู่ที่ว่าครูมีความเข้าใจการวิจัยในชั้นเรียนเพียงใด ได้ทดลองลงมือทำบ้างแล้วหรือยัง ซึ่งมีหลายท่านเมื่อพูดถึงคำว่า “วิจัย” ภาพของเอกสารหรือตำราเล่มหนาๆ โตๆ และสถิติที่ยุ่งยากผุดขึ้นในใจ “มีประโยชน์มากมายแต่ทำได้ยากเหลือเกิน เปรียบเหมือนยาขมที่ครูจำเป็นต้องรับประทาน”

ดังนั้นบทความนี้จึงนำเสนอเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจว่าการวิจัยในชั้นเรียนนั้นไม่ยากย่างที่คิด

“ความแตกต่างของการวิจัยในชั้นเรียนกับการวิจัยทั่วไป”

การวิจัยเป็นวิธีการศึกษาหาความรู้ที่เป็นระบบโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งการวิจัยประเภทใดก็ตามจะมีขั้นตอนสำคัญๆ ไม่แตกต่างกันคือ

  • การกำหนดปัญหาการวิจัย
  • การแสวงหาสู่ทางแก้ปัญหา
  • การใช้วิธีการต่างๆ แก้ปัญหา
  • การบันทึกและการปฏิบัติการแก้ปัญหา
  • การสรุปและนำเสนอผลการแก้ปัญหา

แนวทางการลงโทษทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กรณีการกระทำความผิดเล็กน้อย

แนวทางการลงโทษทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กรณีการกระทำความผิดเล็กน้อย
หลักการ
การดำเนินการทางวินัยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การลงโทษข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นไปโดยถูกต้องเหมาะสมตามกระบวนการทางนิติธรรม โดยการดำเนินการทางวินัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และขั้นตอนการดำเนินงานปฏิบัติตามกฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา พ.ศ. 2550

การดำเนินการทางวินัย การลงโทษข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องเป็นไปโดยความถูกต้องเหมาะสมและเป็นธรรม  โดยคำสั่งลงโทษทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นคำสั่งทางปกครอง การดำเนินการทางวินัยรวมถึงขั้นตอนต่างๆในการดำเนินการการใช้ดุลยพินิจผู้บังคับบัญชาในการกำหนดโทษทางวินัยจะต้องเป็นไปตามระเบียบขั้นตอนของกฎหมาย และต้องมีการคำนึงถึงความชอบด้วยกฎหมาย

กรณีผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจลงโทษทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กระทำความผิดเล็กน้อย อันเป็นความผิดวินัยไม่ร้ายแรง ต้องพิจารณาตามกระบวนการขั้นตอน การใช้ดุลยพินิจ การปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ ตามระเบียบวิธีปฏิบัติที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการทางวินัยถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 จึงจัดทำเอกสารเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและเป็นประโยชน์กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการทางวินัย กรณีการกระทำความผิดเล็กน้อย รายละเอียดตามเอกสารนี้