การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยหรือใช้วิจัยเป็นฐาน
กัลยา แตงขำ
ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ
สพป.ราชบุรี เขต 1
การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยหรือใช้วิจัยเป็นฐานการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยหรือใช้วิจัยเป็นฐาน มีนักวิชาการให้ความหมายดังนี้
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2547) ให้ความหมายของการสอนแบบเน้นการวิจัย (Research-Base Teaching) คือ การสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถตั้งคำถาม วิเคราะห์ปัญหา รู้วิธีการที่จะได้มาซึ่งคำตอบ และคำตอบที่ได้มาตั้งเป็นประเด็นปัญญาเพื่อหาคำตอบใหม่ โดยนำเอาเนื้อหาจากการวิจัย หรือกระบวนการวิจัยมาเป็นสื่อการสอน
ทิศนา แขมมณี (2547 : 4) ได้กล่าวถึงความหมายไว้ว่า การเรียนการสอนที่มีการวิจัยเป็นฐาน คือการจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในการหาความรู้ใหม่หรือคำตอบที่เชื่อถือได้ โดยอาศัยกระบวนการสืบสอบในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษาวิจัยในการดำเนินการสืบค้น พิสูจน์ ทดสอบ เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล
อำรุง จันทวานิช (2548 : 5) ได้ให้ความหมายของการเรียนการสอนที่มีการวิจัยเป็นฐาน ว่าเป็นวิธีการที่ผู้สอนประยุกต์ใช้การวิจัยเป็น ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด การเรียนรู้ของผู้เรียนจะเกิดจากการปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอน มีการกำหนดปัญหา วิเคราะห์ปัญหา วางแผนจัดทำเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปการเรียนรู้ที่ได้จากการวิจัย
อาชัญญา รัตนอุบล (2547 : 61) ได้ให้ความหมายไว้ว่าการเรียนการสอนที่มีการวิจัยเป็นฐาน คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ ในเรื่องที่ตนสนใจหรือต้องการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายใต้ขอบเขตเนื้อหาที่เรียน โดยมุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกการคิดและการจัดการหาเหตุผลในการตอบปัญหาตามโจทย์ที่ผู้เรียนได้ตั้งไว้ โดยผสมผสานองค์ความรู้แบบสหวิทยาการและศึกษาจากสถานการณ์จริง
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และทัศนีย์ บุญเติม (2547) ให้ความหมายของการสอน RBL (Research Base Learning) หมายถึง การนำเอาการวิจัยมาใช้เป็นวิธีสอน โดยใช้เป็นเครื่องมือให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง หรือ คิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง ซึ่งผลจากวิธีการสอน RBL จะช่วยสร้างให้ผู้เรียนมีทักษะการแสวงหาความรู้ เกิดคุณลักษณะ ใฝ่รู้ มีความคิดสร้างสรรค์ เกิดการเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต
ทัศนีย์ บุญเติม (2546) ให้ความหมายของการสอนแบบเน้นการวิจัย (Research- Base) หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยปฏิบัติการที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พร้อมกับมีการสะท้อนผลการเรียนรู้ทั้งจากผู้เรียนและผู้สอน
ไพศาล สุวรรณน้อย (2549) ให้ความหมายของการเรียนรู้ที่ใช้การวิจัยเป็นฐาน (Research-Based Learning) หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียนทั้งความรู้ในสาระการเรียนรู้ ทักษะการปฏิบัติงาน ทักษะกระบวนการวิจัย ทักษะกระบวนการคิดและการสร้างเจตคติที่ดีต่อการวิจัยในการพัฒนาวิชาชีพ
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ (2553 : 103) กล่าวว่า “การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ โดยให้ผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยเป็นเครื่องมือในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง”
จุฑา ธรรมชาติ (2552) ให้ความหมายของการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐาน หมายถึง กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ครูและผู้เรียนใช้การวิจัยในการแสวงหาความรู้หรือแก้ปัญหา และในขณะเดียวกันครูและผู้เรียนก็ศึกษางานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ตามศาสตร์หรือสาระการเรียนรู้นั้น ๆ เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายการเรียนรู้และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่กำหนดไว้ตามหลักสูตร
จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่าการเรียนการสอนด้วยกระบวนการวิจัยหรือใช้วิจัยเป็นฐาน คือ กระบวนการเรียนการสอนที่นำการวิจัยไปเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถที่จะตั้งคำถาม รู้จักยกประเด็นปัญหา สามารถวิเคราะห์ปัญหาที่ประสบได้เองและสามารถแสวงหาคำตอบได้มีดป้าหมายให้ผู้เรียน รู้จักวิธีการเรียนแสวงหาคำตอบ ซึ่งได้มาด้วยการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงมากกว่าการเรียนที่เน้นเนื้อหา อันจะส่งผลให้ผู้เรียนรู้วิธีที่จะแสวงหาความรู้ได้เองอย่างต่อเนื่องและใฝ่รู้ตลอดเวลา
หลักการ ทฤษฏีเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยหรือใช้วิจัยเป็นฐาน
จากแนวคิดที่เกี่ยวข้องและเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้ในที่นี้คือ แนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ หรือ สรรคนิยม (Constructivism) ที่พัฒนาขึ้นโดยไวกอตสกี (Vygotsky.l.1978) ที่เรียกว่า Social Constructivism หรือทฤษฏีวัฒนธรรมเชิงสังคมของไวกอตสกี ซึ่งแนวคิดนี้เป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ตามแนว Constructivism เขามีความเชื่อว่า 1) องค์ประกอบสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ ของบุคคลคือการสร้างสื่อกลาง (Mediation) และมีการปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ทางสังคมและวัฒนธรรม 2) การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม ช่วยพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ของบุคคล 3) การช่วยเหลือและชี้แนะจากผู้ที่มีความชำนาญมากว่าจะให้บุคคลสามารถแก้ปัญหาที่ไม่สามารถแก้ด้วยตนเองได้
ประสบการณ์จากการแก้ปัญหาดังกล่าวจะทำให้บุคคลเกิดการเรียนรู้และสามารถแก้ปัญหานั้นได้โดยลำพังในเวลาต่อมา และผู้เรียนสามารถพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ของตนขึ้นได้ด้วยการรับคำชี้แนะหรือทำงานร่วมกับผู้อื่นที่มีความชำนาญเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ไวกอตสกี ยังได้อธิบายการพัฒนาขอบเขตของการเรียนรู้ว่าเป็นการลดช่วงห่างระหว่างระดับพัฒนาทางสติปัญญาที่ผู้เรียนมีอยู่ในขณะนั้น ซึ่งดูได้จากปัญหาที่ผู้เรียนไม่สามารถแก้ได้โดยลำพัง แต่สามารถแก้ปัญหานั้นได้ถ้าได้รับการชี้แนะจากผู้ที่มีความชำนาญช่วยให้ผู้เรียนรู้และสามารถแก้ปัญหานั้นได้ด้วยตนเองในเวลาต่อมา จุดเน้นของทฤษฏี Social Constructivism ให้ความสำคัญกับการค้นหาวิธีที่ทำให้ปัจเจกบุคคลและกลุ่มมีส่วนร่วม ในการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับความเป็นจริงทางสังคม การสร้างความเป็นจริงทางสังคมจึงเป็นกระบวนการที่ดำเนินอยู่ตลอดเวลาและถูกผลิตซ้ำโดยผ่านการจัดกระทำความรู้และการตีความของบุคคล การเรียนการสอนตามแนวทาง Social Constructivism ได้ใช้ทฤษฏีการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Collaborative Learning) โดยผู้เรียนต้องมีการสนทนากับคนอื่นๆเกี่ยวกับเรื่องที่กำลังเรียนรู้กระบวนการนี้คือ การร่วมมือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งเป็นการทำให้ผู้เรียนตกผลึกและกลั่นกรองสิ่งที่สร้างขึ้นแทนความรู้ภายในสมอง มาเป็นคำพูดที่ใช้ในการสนทนาที่แสดงออกมาภายนอกที่เป็นรูปธรรม
ดังนั้นการออกแบบการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ (Social Constructivism) สรุปได้คือเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากที่ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือกระทำ และสร้างสรรค์ผลงาน เป็นการนำหลักการที่สำคัญของสองกลุ่มแนวคิดคือ Cognitive Constructivism และ Social Constructivism มาใช้ในการออกแบบมีองค์ประกอบที่สำคัญ เช่น สถานการณ์ปัญหา แหล่งเรียนรู้ บทบาทของครูที่ทำหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือ การให้คำแนะนำผู้เรียน การร่วมมือกันแก้ปัญหาเป็นองค์ประกอบหนึ่ง ที่มีส่วนสนับสนุนให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้อื่นเพื่อขยายมุมมองให้แก้ตนเอง การร่วมมือกันแก้ปัญหาจะสนับสนุนให้ผู้เรียนคิดไตร่ตรอง เป็นแหล่งที่เปิดโอกาสให้ทั้งผู้เรียน ผู้สอน ผู้เชี่ยวชาญ ได้สนทนาและแสดงความคิดเห็นของตนเองกับผู้อื่น
จากแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ที่กล่าวข้างต้นประกอบกับสภาพสังคมปัจจุบันที่เป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสารที่ไร้พรมแดน มีองค์ความรู้เกิดขึ้นมากกมายทุกวินาทีทำให้เนื้อหาวิชามีมากขึ้น เกินกว่าที่ผู้สอนจะสอนได้หมด ซึ่งการสอนแบบเดิม ด้วยการ “พูด บอก เล่า” ไม่สามารถจะพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะแสวงหาความรู้อยู่เสมอ สามารถแก้ไขปัญหาด้วยเหตุผล มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และนำความรู้ที่ได้จากการเรียนไปปฏิบัติได้ดี ได้ ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนไปสู่การกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์ แสวงหาความรู้ให้มากขึ้น การจัดการเรียนการสอนจึงต้องยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง กล่าวคือ ต้องสอนให้ผู้เรียนมีเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง จึงนำมาสู่แนวคิดการใช้กระบวนการวิจัยในการจัดการเรียนการสอน เนื่องจากการวิจัยเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้แสวงความรู้เพื่อให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ อาจารย์สามารถใช้การวิจัยเป็นวิธีสอนวิธีการสอนวิธีหนึ่ง โดยนำเอาการสอนและการวิจัยผสมผสานกันทำให้ผู้เรียนได้ทั้งเนื้อหาในศาสตร์ของตนไปพร้อมกับการได้ใช้กระบวนการวิจัยในการศึกษาหาความรู้ต่างๆ จะช่วยให้ผู้เรียนมีเครื่องมือในการเรียนรู้ตลอดชีวิต (ไพฑูรย์ สินลารัตน์, สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และทัศนีย์ บุญเติม, 2547 ; ทิศนา แขมมณี, 2548)
การจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานจึงเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียนทั้งความรู้ในศาสตร์ของตน ทักษะการปฏิบัติงาน ทักษะกระบวนการวิจัย ทักษะกระบวนการคิดและการสร้างเจตคติที่ดีต่อการใช้การวิจัยเพื่อพัฒนาวิชาชีพ โดยองค์ประกอบที่สำคัญของการวิจัย 3 ประการมีความสัมพันธ์กันที่จะช่วยพัฒนาผู้เรียนได้ ดังนี้ (ไพศาล สุวรรณน้อย,2549)
องค์ประกอบที่ 1 ผลการวิจัย (Outcomes) ผลการวิจัยที่ได้จากการทาวิจัย คือ องค์ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง เป็นการเรียนรู้เนื้อหาสาระจากกระบวนการวิจัย และการสร้างองค์ความรู้จากกระบวนการวิจัยเป็นการสร้างองค์ความรู้อย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีความน่าเชื่อถือ
องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการ (Process) กระบวนการทาวิจัยเป็นกระบวนที่เริ่มจากการกำหนดปัญหา การทาความเข้าใจกับปัญหา กำหนดคาถามวิจัย ออกแบบวิธีวิจัย สร้างเครื่องมือเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และเขียนรายงานวิจัย จะทาให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากกระบวนการวิจัยพร้อมกับฝึกทักษะการวิจัยไปพร้อมกัน
องค์ประกอบที่ 3 เครื่องมือในการวิจัย (Tools) การวิจัยแต่ละสาขาวิชาชีพจะมีลักษณะเฉพาะและมีความแตกต่างกัน จึงทาให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะในการใช้เครื่องมือการวิจัยในศาสตร์ของตนเองด้วย
องค์ประกอบที่ 4 บริบท (Context) บริบทของการเรียนรู้การจัดกิจกรรมการสอนแบบเน้นการวิจัยจะสร้างบรรยากาศการวิจัยเป็นการพัฒนาผู้เรียนให้อยู่ในสภาพแวดล้อมการแสวงหาความรู้โดยใช้การวิจัย
หลักการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยหรือใช้วิจัยเป็นฐาน
การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยหรือใช้แบบใช้วิจัยเป็นฐานมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ในศาสตร์ของตนได้ด้วยตนเอง โดยผู้สอนจะให้ผู้ได้เรียนได้ฝึกทักษะย่อยๆ อย่างเป็นลำดับขั้นตอน เพื่อให้เกิดความชำนาญ เริ่มตั้งแต่การตั้งคำถาม รู้จักการยกประเด็นปัญหา วิเคราะห์ปัญหา รู้วิธีการที่จะได้มาซึ่งคำตอบ และเมื่อได้คำตอบแล้วจะต้องวิเคราะห์พิจารณาหาคำตอบใหม่ต่อไป ซึ่งการเรียนในลักษณะนี้ทำให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการวิจัยในการศึกษาหาความรู้ทาให้มีประสบการณ์กับสิ่งนั้นจนนำไปสู่การเรียนรู้ได้ดี(ไพฑูรย์ สินลารัตน์, 2547, สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และทัศนีย์ บุญเติม, 2547; ทิศนา แขมมณี ,2548)
หลักการการสอนแบบเน้นการวิจัยมีหลักการสำคัญอยู่ 2 ประการ คือ (ไพฑูรย์ สินลารัตน์, 2547) การสอนที่เน้นเนื้อหาวิจัย และการสอนที่เน้นกระบวนการวิจัย กล่าวคือ
การสอนที่เน้นเนื้อหาวิจัย เป็นการนำเอาคำตอบหรือสรุปผลและข้อเสนอแนะจากการวิจัย นำมาให้ผู้เรียนอภิปราย ศึกษาค้นคว้าต่อไป กล่าวคือเป็นการสอนในเชิงวิจัยในลักษณะนี้เน้นการนำเอาผลการวิจัยที่ได้มาเบิกทางไปสู่ความรู้ใหม่ๆ
การสอนที่เน้นกระบวนการวิจัย เป็นการนำเอาคำตอบจากการวิจัยต่างๆ มาวิเคราะห์ในชั้นเรียนจนกระทั่งตั้งคำถามร่วมกับผู้เรียนแล้วให้ผู้เรียนไปค้นคว้าหาคำตอบ ซึ่งวิธีการสอนแบบนี้จะทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการวิจัยพร้อมกับการหาคำตอบ
การสอนแบบเน้นวิจัยควรมีตัวบ่งชี้ ดังต่อไปนี้ (ทิศนา แขมมณี,2548)
1. ผู้สอนมีการนำเสนอผลการวิจัยมาใช้ประกอบการสอน
2. ผู้สอนมีการให้ผู้เรียนประมวลผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาสาระที่เรียนเพื่อขยายขอบเขตความรู้ในเรื่องนั้นๆ และเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการและกระบวนการวิจัยรวมทั้งมีการอ่านและใช้ผลการวิจัย
3. ผู้สอนมีการใช้กระบวนการวิจัยในการสอน เช่น ให้ผู้เรียนดำเนินการตามกระบวนการวิจัยบางขั้นตอน หรือดำเนินการวิจัยครบทุกขั้นตอน
4. ผู้สอนมีการฝึกฝนทักษะการวิจัยที่จาเป็น หรือเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียนให้แก่ผู้เรียนตามความเหมาะสมกับเนื้อหาหรือสถานการณ์
5. ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับกระบวนการวิจัยและผลการวิจัย
6. ผู้สอนมีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ทั้งทางด้านเนื้อหาสาระและกระบวนการวิจัย
รูปแบบการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน
รูปแบบการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐานประกอบด้วย 4 รูปแบบที่สำคัญ ดังนี้ (ไพฑูรย์ สินลารัตน์ 2547; ทิศนา แขมมณี, 2548)
รูปแบบที่ 1 ผู้สอนนำผลการวิจัยมาใช้สอนหรือบรรยายให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ หรือจัดให้เป็นผู้เรียนศึกษาค้นคว้างานวิจัยด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนจดจาแล้วนาความรู้ไปใช้
รูปแบบที่ 2 ผู้สอนจะนำเอาผลการวิจัยมาอภิปรายเพื่อหาความรู้และข้อมูลใหม่ๆ โดยเน้นให้ผู้เรียนตั้งคำถาม
รูปแบบที่ 3 ผู้สอนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนการสอน ซึ่งอาจใช้กระบวนการวิจัยครบทุกขั้นตอนหรือบางขั้นตอน ตามความเหมาะสม โดยผู้สอนจะมีบทบาทให้คำแนะนำให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติการวิจัยเพื่อมุ่งหาความรู้ใหม่มากขึ้น
รูปแบบที่ 4 ผู้สอนจะมีบทบาทเป็นเพียงผู้จัดการ ให้คำปรึกษา ให้ผู้เรียนทำการลงมือทำวิจัยตนเอง อาจอยู่ในรูปการทำรายงานเชิงวิจัย ทำ Baby research เป็นต้น
ทิศนา แขมมณี (2547 ,หน้า 6) กล่าวถึง แนวทางการใช้การวิจัยในการเรียนการสอนมี 4 แนวทาง คือ แนวทางที่ 1 ครูใช้ผลการวิจัยในการเรียนรู้ แนวทางที่ 2 ผู้เรียนใช้ผลการวิจัย
ในการเรียนการสอน แนวทางที่ 3 ครูใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนการสอน และแนวทางที่ 4 ผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนการสอน แสดงได้ดังภาพต่อไปนี้
ภาพ 1 แสดงแนวทางการใช้การวิจัยในการเรียนการสอน
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัยจะดำเนินการตามขั้นตอนของการวิจัยทั้ง 6 ขั้น คือ ระบุปัญหาการวิจัย, ตั้งสมมุติฐาน, พิสูจน์ทดสอบสมมุติฐาน, รวบรวมข้อมูล, วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล ซึ่งครูก็ต้องช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการดังกล่าว ซึ่งหมายถึง การมีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการใช้กระบวนการดังกล่าว ครูจำเป็นต้องช่วยเสริมทักษะที่จำเป็นต่อการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอน มิใช่ปล่อยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ไปตามยถากรรม ซึ่งทักษะเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะเป็นทักษะที่เรียกว่า ทักษะกระบวนการวิจัยดังภาพต่อไปนี้
กระบวนการวิจัย บทบาทครูในการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย
1. ระบุปัญหาการวิจัย ครูจะทำอย่างไร ผู้เรียนจึงจะสามารถระบุปัญหาการวิจัยได้ชัดเจน
– ครูควรสอนและฝึกทักษะการสังเกตปัญหา ตั้งคำถาม รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ปัญหา และระบุปัญหาที่แท้จริง
2. ตั้งสมมุติฐาน ครูจะทำอย่างไร ผู้เรียนจึงจะสามารถตั้งสมมุติฐานได้
– ครูควรสอนและฝึกให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล หาสาเหตุคาดเดาคำตอบของปัญหาอย่างมีหลักการและมีหลักฐานรองรับและตั้งสมมุติฐานที่เหมาะสม
3. พิสูจน์ ทดสอบสมมุติฐาน ครูจะทำอย่างไร ผู้เรียนจึงจะสามารถพิสูจน์ ทดสอบสมมุติฐานได้
– ครูควรสอนและฝึกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการและวิธีการในการออกแบบ การพิสูจน์หรือทดสอบสมมุติฐานที่เหมาะสมกับศาสตร์ของเรื่องที่วิจัย
4. รวบรวมข้อมูล ครูจะทำอย่างไร ผู้เรียนจึงจะสามารถรวบรวมข้อมูลได้
– ครูควรสอนและฝึกให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการแสวงหาแหล่งข้อมูล วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิธีการสร้างเครื่องมือที่เหมาะสมกับศาสตร์ของเรื่องที่วิจัย
5. วิเคราะห์ข้อมูล ครูจะทำอย่างไร ผู้เรียนจึงจะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้
– ครูควรสอนและฝึกให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการที่เหมาะสมกับศาสตร์ของเรื่องที่วิจัยในการวิเคราะห์ข้อมูล การใช้สถิติต่างๆ การกำหนดเกณฑ์การประเมิน และการนำเสนอข้อมูล
6. สรุปผล ครูจะทำอย่างไร ผู้เรียนจึงจะสามารถสรุปผลได้
– ครูควรสอนและฝึกให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการสรุปข้อมูล และการตอบสมมุติฐาน
ภาพ 2 แสดงบทบาทครูในการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย ของ ทิศนา แขมมณี
อมรวิชช์ นาครทรรพ (2547 : 40-43) ได้ศึกษาวิจัยและได้จัดการเรียนรู้ตามกระบวนการวิทยาศาสตร์ 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. ข้องใจ (Research Problem) ศึกษาและกำหนดปัญหาในการวิจัย
2. หมายคำตอบ (Hypothesis) ศึกษาและกำหนดสมมติฐานและขอบเขตการวิจัย
3. สอบสวน (Data Collection) รวบรวมข้อมูลที่จำเป็นทั้งหมด
4. ครวญใคร่ (Data Anaiysis) ประมวลและวิเคราะห์ข้อมูล
5. ไขความจริง (Conclusion) สรุปและอภิปรายผล
โดยใช้กระบวนการวิจัยร่วมกับกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้ตัวแบบทฤษฏีเกี่ยวกับการเรียนรู้ของคนเรา ที่เรียกว่า Information Processing Model of Leaming ของ Gagne ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ของคนเราที่เกิดขึ้นเป็นระบบ เป็นตอนต่างๆ 8 ขั้น ได้แก่
ขั้นที่ 1 ขั้นจูงใจ (Motivate) เป็นขั้นจูงใจให้มีความอยากรู้
ขั้นที่ 2 ขั้นเจาะใจ (Attention) เป็นขั้นของความคิดที่คมชัดขึ้น มีความจำเพาะเจาะจงในสิ่งที่สดใสมากขึ้น เช่น อาจกำหนดว่าต้องการจะรู้อะไรบ้างในเรื่องนั้นๆ
ขั้นที่ 3 ขั้นจัดเจน (Rehearsal) เป็นขั้นการรับรู้เรื่องราวที่สนใจนั้นบ่อยๆ ขึ้นเมื่อนั้นสมองส่วนความจำระยะสั้นก็จะเริ่มทำงานด้วยการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ที่ได้รับรู้เข้าไปในกองสมอง
ขั้นที่ 4 ขั้นจัดแจง (Coding) เป็นขั้นที่สำคัญมากเพราะเป็นการลงรหัสให้ความจำที่เรารับรู้เข้าไปมีการจัดระบบ ในขั้นนี้มีวิธีจดจำและทำความเข้าใจที่ดี
ขั้นที่ 5 ขั้นเจาะจง (Search Retrieval) เป็นขั้นตอนที่สำคัญในการเชื่อมโยงการเรียนรู้จากสถานะของความทรงจำระยะสั้นไปสู่ความทรงจำระยะยาว โยคนเราจะต้องถูกกระตุ้นให้ดึงเอาสิ่งที่จดจำไว้นั้นออกมาใช้คิด วิเคราะห์ หรือแก้ปัญหาอยู่เรื่อยๆที่จะนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ของบุคคลให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ขั้นที่ 6 ขั้นจดจำ (Gemeralization) จากขั้นตอนของการซักซ้อม – จดจำ นำมาคิด จนกระทั้งคนเรามีพื้นฐานความรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งดีพอสมควรแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการยกระดับนี้ไปสู่ความรู้ที่สูงขึ้นนั่นคือ ความรู้ในเชิงหลักการ หรือความคิดรวบยอดที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่นๆ ในขั้นนี้ การได้รับการกระตุ้นให้บุคคลเกิดการวิเคราะห์สังเคราะห์
ขั้นที่ 7 ขั้นโจษจัน (Response Generation) เป็นขั้นที่คนเรามีโอกาสแสดงภูมิ คือการนำสิ่งที่รู้ออกมาแลกเปลี่ยนและมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น เพื่อจะดูว่าคนอื่นมีท่าทีตอบสนองตอบต่อความรู้ของเราอย่างไร ซึ่งนับว่ามีความสำคัญเพราะทำให้ผู้เรียนได้ทดสอบความมั่นใจ
ขั้นที่ 8 ขั้นเจนจบ (Feedback) เป็นขั้นที่ได้รับการยืนยัน/โต้แย้ง จากบุคคลอื่นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนรู้ และสามารถสรุปข้อความรู้ของตนเองได้
ทั้งนี้รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย ตามแนวคิดของ อมรวิชช์ นาครทรรพ (2547 : 58) สามารถสรุปเป็นแผนภาพได้ ดังนี้
กระบวนการวิจัย กระบวนการเรียนรู้ กระบวนการพัฒนาผู้เรียน
ข้องใจ (Research Problem)
หมายคำตอบ (Hypothesis)
สอบสวน (Data Collection)
ครวญใคร่ (Data Analysis)
ไขความจริง (Conclusion) จูงใจ (Motivate)
เจาะใจ (Attention)
จัดเจน (Rehearsal)
จัดแจง (Coding)
เจาะจง (Search Retrieval)
จดจำ (Generalization)
โจษจัน (Response Generation)
เจนจบ (Feedback) ใจที่ใฝ่รู้
(Inquisitive Mind)
ใจที่ใฝ่คิด (Critical Mind)
ใจที่ใฝ่ศรัทธาในตน
(Assertive Mind)
ใจที่ใฝ่สร้างสรรค์คุณประโยชน์
(Noble Miod)
ภาพ 3 รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย ตามแนวคิดของ อมรวิชช์ นาครทรรพ
นอกจากนี้ สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และ ทัศนีย์ บุญเติม (2547) ได้เสนอรูปแบบการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน หรือการสอนแบบ Research Based Learning (RBL) ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ในการสอน ได้แก่ หลักการสอน วัตถุประสงค์ เนื้อหา ขั้นตอนการสอน การประเมินผล โดยการสอนแบบ Research Based Learning (RBL) มีหลักการมาจากทฤษฎีการเรียนที่เชื่อว่าผู้เรียนจะได้รู้ได้ดีหากมีประสบการณ์ตรงกับสิ่งนั้น (Leaning By doing) จึงนำมาสู่หลักการสอนแบบเน้นการวิจัยด้วยการฝึกให้ผู้เรียนเรียนรู้ทักษะของการวิจัยเป็นลำดับขั้นทีละน้อยเพื่อสร้างความชำนาญ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ในศาสตร์ของตนได้ด้วยตนเอง ดังนั้นเนื้อหาการสอนและขั้นตอนการสอนยังคงสอนตามสาระของแต่ละศาสตร์ โดยในขั้นกระบวนการเรียนการสอนผู้สอนจะใช้ระดับการสอนและกลวิธีการสอนแบบ Research Based Learning (RBL) และเมื่อจบการเรียนการสอนผู้เรียนจะเกิดความรู้ใหม่ตามศาสตร์ของตนเอง โดยความรู้ดังกล่าวนั้นมาจากทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้การวิจัยเป็นเครื่องมือ ทำให้ผู้เรียนเกิดการใฝ่รู้ มีเหตุผล และมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ มีรายละเอียด ดังภาพนี้
รูปแบบการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐานที่สัมพันธ์กับองค์ประกอบการสอน
1.หลักการ
ก.ทฤษฎีการเรียน
ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีถ้ามีประสบการณ์ตรงกับสิ่งนั้น
ข.หลักการสอน
การให้ผู้เรียนได้ฝึกหัดทักษะย่อยๆ ทีละน้อยเป็นลำดับขั้นตอนจะทำให้ผู้เรียนมีความสามารถและมีความชำนาญในงาน
การฝึกให้ผู้เรียนคุ้นเคยกับกระบวนการวิจัยหรือกระบวนการแสวงหาความรู้ทีละน้อยอย่างเป็นลำดับขั้นตอน 3.เนื้อหา
สาระของศาสตร์แต่ละศาสตร์ 6.การประเมินผล
ก.ประเมินสาระในศาสตร์
ข.ประเมินความสามารถในกระบวนการแสวงหาความรู้
ค.ประเมินเจคติ
4.ขั้นตอนการสอน
ก.กำหนดวัตถุประสงค์
ข.จัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ค.การประเมินผล 7.ระบบปฏิสัมพันธ์
2.วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ในศาสตร์ของตนได้ด้วยตนเองโดยมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 5. กระบวนการเรียนการสอน
ระดับการสอน กลวิธีการสอน
ระดับที่ 7 กลุ่มที่ 1
ระดับที่ 6
กลุ่มที่2
ระดับที่ 5
ระดับที่ 4
ระดับที่ 3 กลุ่มที่3
ระดับที่ 2
กลุ่มที่ 4
ระดับที่ 1
8. ผลที่เกิดกับผู้เรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม
ก.ความรู้ใหม่
ข.ทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
ค.ความใฝ่รู้ มีเหตุมีผล
ง.การมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
ภาพ 4 รูปแบบการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐานที่สัมพันธ์กับองค์ประกอบการสอน
ที่มา: สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และ ทัศนีย์ บุญเติม, 2547
จากภาพ 4 ในกระบวนการเรียนการสอน สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และ ทัศนีย์ บุญเติม (2547) ได้ขยายความระดับการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐานสามารถสอนได้ 5 เรียงลำดับความเข้มข้นของการเข้าไปมีส่วนร่วมกับการเรียนการสอนของผู้เรียน ดังนี้
ระดับที่ 1 ผู้เรียนศึกษาหลักการ ความรู้เบื้องต้นจากตำรา เอกสาร สื่อต่าง ๆ คำบรรยายจากอาจารย์ โดยลักษณะมีการพูดคุย อภิปราย ในเชิงวิชาการต่อเนื้อหาที่ได้อ่านจากตำรา
ระดับที่ 2 ผู้เรียนเรียนรู้ผลการวิจัยที่ศึกษาด้วยตนเองหรืออาจารย์นำผล การวิจัยมาบรรยายซึ่งในระดับนี้เน้นการศึกษาจากผลงานวิจัยของผู้อื่นแล้วคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ ในเชิงวิชาการ
ระดับที่ 3 อาจารย์คัดสรรงานวิจัยที่เป็นตัวอย่างที่ดีทั้งในด้านเนื้อหา สาระและระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้องให้ผู้เรียนศึกษาจากรายงานวิจัยนั้นด้วยตนเอง การเรียนในระดับนี้เป็นการผสมผสานระหว่างเนื้อหาวิชาเข้ากับกระบวนการวิจัย
ระดับที่ 4 ผู้เรียนทำรายงานเชิงวิจัย ซึ่งเมื่อผ่านการเรียนรู้กระบวนการวิจัยในศาสตร์ของตนจากตัวอย่างรายงานวิจัยแล้ว ผู้เรียนจะสามารถทำรายงานเชิงวิจัยด้วยตนเอง อาจเป็นการทำกรณีศึกษา การสำรวจ หรือการวิจัยเอกสาร
ระดับที่ 5 ผู้เรียนทำวิจัยฉบับจิ๋ว ในขั้นนี้จะเป็นการเรียนรู้กระบวนการวิจัยด้วยการลงมือปฏิบัติ แต่ขั้นนี้ยังเป็นระดับฝึกหัดจึงไม่เน้นความใหม่หรือความเป็นประโยชน์ของความรู้ที่ได้จากผลการวิจัย
ระดับที่ 6 การให้ผู้เรียนเป็นผู้ช่วยในโครงการวิจัยของอาจารย์ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้สัมผัสกับการทำวิจัยจริง ๆ ภายใต้การนิเทศของอาจารย์เจ้าของโครงการ ซึ่งนอกจากการเรียนรู้ขั้นตอนการทำวิจัยแล้วผู้เรียนจะได้ศึกษากระบวนการจัดการโครงการอีกด้วย
ระดับที่ 7 การทำวิทยานิพนธ์ หรือการทำวิจัยด้วยตนเอง ขั้นนี้ผู้เรียนจะต้องผ่านประสบการณ์เกี่ยวกับการทำวิจัยระดับหนึ่งจนสามารถทำวิจัยได้ด้วยตนเอง ซึ่งถือเป็นเป้าหมายสูงสุดของการสอนแบบ Research Based Learning (RBL) ดังภาพนี้
ระดับที่ 7 ทำวิทยานิพนธ์
ระดับที่ 6 เป็นผู้ช่วยวิจัยในโครงการวิจัย/ทำวิจัยภายใต้การนิเทศ
ระดับที่ 5 ทำ Baby Research
ระดับที่ 4 ทำรายงานเชิงวิจัย
ระดับที่ 3 เรียนรู้โดยศึกษาจากงานวิจัย
ระดับที่ 2 เรียนรู้ผลการวิจัยจากการศึกษาด้วยตนเอง/คำบอกเล่าของอาจารย์
ระดับที่ 1 ศึกษาหลักการ ความรู้ จากตำรา/เอกสาร/สื่อต่างๆ/คำบอกเล่า
ภาพ 5 ระดับการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน
ที่มา: สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และทัศนีย์ บุญเติม, 2547
รูปแบบการสอนได้มาจากการสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ แนวคิดทฤษฎีที่ใช้เป็นพื้นฐานในการออกแบบรูปแบบการจัดการความรู้ด้วยกระบวนการวิจัย สรุปได้ดังนี้
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นนี้เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ใช้แนวคิดการเรียนด้วยกระบวนการวิจัย เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นและใช้ความคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล เป็นระบบ
2. กิจกรรมการเรียนการสอนที่จะเน้นให้นักเรียนได้ปฏิบัติด้วยตนเองโดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย
3. รูปแบบการจัดการเรียนรู้จะเน้นให้รู้เรียนมีอิสระในการทำงานเชื่อมโยงกับสภาพจริงภายนอก ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ทำงานร่วมกับกลุ่ม มีส่วนร่วมในชั้นเรียนอย่างกระตือรือร้นใช้ทักษะกระบวนการวิจัย แลกเปลี่ยนและมีการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในสังคมอย่างเหมาะสม
4. เน้นกระบวนการเรียนรู้งานวิจัย
5. ครูเป็นผู้ชี้แนะและช่วยเหลือและวางแผน กิจกรรมต่างๆ และจัดประสบการณ์ให้กับผู้เรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์กับครู
เอกสารอ้างอิง
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. (2554) แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยนักเรียนใช้
กระบวนการวิจัยในการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : อัดสำเนา.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2555). เทคนิคการใช้คำถามพัฒนาการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัทวีพรินท์
(1991) จำกัด.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์
อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.
ทิพรัตน์ มาศเมธาทิพย์. (2552). การพัฒนาหลักสูตรแบบเน้นกระบวนการวิจัยสำหรับนักเรียน ช่วงชั้นที่ 3: กรณีศึกษาแหล่งเรียนรู้กล้วยตากอินทรีย์บ้านไร่ พิษณุโลก. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก.
ทัศนีย์ บุญเติม. (2546). การจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 27(2),64-76.
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2548). การจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
ทิศนา แขมมณี. (2556). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นฤมล รอดเนียม. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน เพื่อ
พัฒนาจิตวิทยาศาสตร์สำหรับนิสิตปริญญาตรี.วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต.
มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก.
บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การวิจัยสำหรับครู. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ประนอม โอทกานนท์ และคณะ. (2551). รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้
กระบวนการวิจัยเป็นฐานในรายวิชาการพยาบาลสำหรับนิสิตหลักสูตรพยาบาลศาสตร์
บัณฑิต. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2556). วิจัยการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปทีป เมธาคุณวุฒิ. (2547). การเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัย. ใน ไพฑูรย์ สินลารัตน์, บรรณาธิการ. การเรียนการสอนที่มีการวิจัยเป็นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2547). การเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัย. ใน ไพฑูรย์ สินลารัตน์, บรรณาธิการ. การเรียนการสอนที่มีการวิจัยเป็นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพโรจน์ เนียมนาค. (2553). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมจริยธรรมด้านความมีวิจัยในตนเอง สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก.
ไพศาล สุวรรณน้อย. (2549). การจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน : การพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยวิจัย : วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 27(3-4),17-26.
รัตนะ บัวสนธ์. (2554). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครสวรรค์: ริมปิง
การพิมพ์.
ลัดดา ภู่เกียรติ. (2552). การสอนแบบโครงงานและการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน : งานที่ครูประถม
ทำได้. กรุงเทพฯ. สาฮะแอนด์ซันพริ้ตติ้ง จำกัด.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2555). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และทัศนีย์ บุญเติม. (2547). การสอนแบบ Research Based Learning. ใน ไพฑูรย์ สินลารัตน์, บรรณาธิการ. การเรียนการสอนที่มีการวิจัยเป็นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อมรวิชช์ นาครทรรพ. (2547). เรียนรู้คู่วิจัย: กรณีการสอนด้วยกระบวนการวิจัยภาคสนามวิชา
การศึกษากับสังคม คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ใน ไพฑูรย์ สินลารัตน์,
บรรณานุกรม. การเรียนการสอนที่มีการวิจัยเป็นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: คณะครุ
ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาชัญญา รัตนอุบล. (2547). การสอนแบบเน้นการวิจัยโดยใช้สัญญาแห่งการเรียนรู้. ใน ไพฑูรย์ สินลา
รัตน์, บรรณานุกรม. การเรียนการสอนที่มีการวิจัยเป็นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพ: คณะครุ
ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อำรุง จันทวานิช.(2548). การเรียนการสอนโดยผู้เรียนใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวิจัย. : ปาฐกถาพิเศษ เรื่องนโยบายหลังเสริมการจัดการเรียนการสอนโดยผู้เรียนใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้. 1-11..