ความรู้เกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา

ปัจจุบัน งานในด้านการศึกษาได้เจริญก้าวหน้าไปมาก มีการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ ประการ  เช่นการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร ความรู้ในสาขาวิชาการต่าง ๆ เพิ่มขึ้น แนวความคิดและแนวการเรียนการสอนใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น  ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงจุดมุ่งหมายของการศึกษา แต่ยังพบว่า ผู้บริหาร ครู  และผู้เกี่ยวข้องบางคน   ยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลง ปัญหาดังกล่าวข้างต้นสามารถจะแก้ไขได้โดยอาศัยผู้นิเทศ หรือศึกษานิเทศก์ ซึ่งมีหน้าที่นิเทศการศึกษาให้ครูมีความเจริญงอกงามทางวิชาการ สามารถพึ่งตนเองได้ และนำความรู้เหล่านี้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอนตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้  ดังนั้นเรื่องการนิเทศการศึกษาจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ศึกษานิเทศก์ควรจะได้ศึกษาและทำความเข้าใจในหลักการ กระบวนการ  และวิธีการของการนิเทศการศึกษาเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไปเพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่องของการนิเทศการศึกษาดีขึ้นจึงขอนำเอาความรู้เบื้องต้นของการนิเทศการศึกษามากล่าวถึงในรายละเอียดดังต่อไปนี้

แนวทางการเขียนรายงานการทำโครงงานโดยใช้กระบวนการสืบเสาะของเด็กปฐมวัย

 ชื่อโครงงาน …………………………………………………………………………………… 

ผู้จัดทำโครงงาน นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่………………. โรงเรียน………………………สพป…………………………..

ครูที่ปรึกษา ………………………………………………………………………………………………………………………..

ระยะเวลาในการจัดทำ ………………………………………………………………………………………………………………………..

ที่มาของโครงงาน

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

สรุปคำถามที่เด็กๆ สงสัยอยากรู้เกี่ยวกับเรื่อง……………………………………….นี้ ได้แก่

1. …………………………………………………………………. 3. ………………………………………………………………….

2. …………………………………………………………………. 4. ………………………………………………………………….

 

(ได้ที่มาของคาถามจากเหตุการณ์ สิ่งต่างๆ รอบตัว หรือจากการจัดกิจกรรมในหน่วยปกติในห้องเรียน ฯลฯ

ที่จะนามาจัดทำครงงานที่ ซึ่งจะมีหลายคำถามที่เด็กอยากรู้ แล้วเลือกคำถามที่ดี เพื่อให้เด็กหาคาตอบด้วยตนเอง โดยใช้กระบวนการสืบเสาะ)

การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended leaning)

ความหมาย
          สมาคมสโลน (Allen and Seaman 2005) ให้คำจำกัดความของการเรียนแบบผสมผสานว่า
การเรียนแบบผสมผสาน คือ การเรียนที่ผสมการเรียนออนไลน์และการเรียนในชั้นเรียน โดยที่เนื้อหาส่วนใหญ่ส่งผ่านระบบออนไลน์ ใช้การอภิปรายออนไลน์และมีการพบปะกันในชั้นเรียนบ้าง และมีส่วนที่น่าสนใจว่าการอภิปรายออนไลน์ถือเป็นการส่งผ่านเนื้อหาออนไลน์ เช่นกัน สำหรับการเรียนในรูปอื่น ๆ อย่างเช่น การเรียนแบบปกติจะไม่มีการส่งผ่านเนื้อหาออนไลน์ การเรียนแบบใช้เว็บช่วยสอนจะมีการส่งผ่านเนื้อหาออนไลน์ร้อยละ 1 – 29 และการเรียนออนไลน์มีการส่งผ่านเนื้อหาร้อยละ 80 – 100
Charles R. Graham ( Graham , 2012 ) มหาวิทยาลัย Brigham Young University ประเทศสหรัฐอเมริกาให้ความหมายว่า เป็นระบบการเรียนการสอนที่ผสมผสานระหว่างการเรียนแบบเผชิญหน้ากับการสอนผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
Michael B. Horn and Heather Staker ( Horn and Staker , 2011 ) แห่ง Innosight Institute ได้นิยามเกี่ยวกับการเรียนแบบผสมผสานของผู้เรียนในระดับ K-12 หมายถึง การเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับมวลประสบการณ์ทางการเรียนรู้อย่างเป็นอิสระผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยนักเรียนสามารถควบคุมตัวแปรทางการเรียนรู้ด้วยตนเองทั้งในด้านเวลา สถานที่ แนวทางการเรียนรู้และอัตราการเรียนรู้ของตนเอง
Radames Bernath ( Bernath , 2012 ) สรุปว่า การเรียนแบบผสมผสานหรือ Blended Learning หมายถึง โปรแกรมทางการเรียนรู้ที่ใช้วิธีการผสมผสานระหว่างการเรียนรู้จากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ    E-learning กับการสอนในชั้นเรียน
เว็บวิกิพีเดีย (Wikipedia 2007) ให้ความหมายของการเรียนแบบผสมผสานว่า เป็นการรวม       การเรียนรู้หลายรูปแบบ การเรียนแบบผสมผสานจะสมบูรณ์ได้ด้วยการใช้การผสมผสานระหว่างทรัพยากร    การเรียนรู้ที่เป็นสื่อเสมือนจริง และทรัพยากรทางกายภาพ เช่น การรวมเอาสื่อที่ต้องใช้เทคโนโลยีกับการเรียนในห้องเรียนเข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้